5 ขั้นตอนการเลือก Vacuum Pad ทำอย่างไร
สารบัญ
บทความนี้เราจะมาดูกันครับว่า ขั้นตอนการเลือก Vacuum Pad เราจะใช้สูตรคำนวณอย่างไรรวมไปถึงวิธีการเลือก Suction Cup อย่างง่าย ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้
การเลือก Vacuum Pad ทำได้อย่างไร
- พิจารณารูปร่างของวัตถุและน้ำหนักของวัตถุที่ต้องการจะยก เช่น ชิ้นงานพลาสติก น้ำหนัก 20 กรัม เป็นต้น
- เลือกรูปร่างของ Vacuum Pad ให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการจะจับ เช่น Round Shape, Oval shape,
- พิจารณาทิศทางการจับยกชิ้นงาน เป็นการจับชิ้นงานแนวนอน หรือ แนวตั้ง
- หาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ Vacuum Pad ที่เหมาะสม
- พิจารณาวัสดุของ Vacuum Pad ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ตัวอย่างการเลือก Vacuum Pad
1. พิจารณารูปร่างของวัตถุและน้ำหนักของวัตถุที่ต้องการจะยก
รูปร่างและน้ำหนักของวัตถุ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา รวมไปถึงพื้นผิวที่สัมผัสด้วย
2. เลือกรูปร่างของ Vacuum Pad ให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการจะจับ
เพื่อนๆ สามารถดูตัวอย่างการของ Vacuum Pad รูปแบบต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่ หรือ ดาวน์โหลดตารางคุณสมบัติเพิ่มเติมได้ที่นี่
3.พิจารณาทิศทางการจับยกชิ้นงาน
ทิศทางการจับยึดชิ้นงานมีผลต่อการจับ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน
4.พิจารณาขนาดของ Vacuum Pad ที่ต้องใช้งาน
เมื่อเราถึงขั้นตอนนี้เราจะนำข้อมูลที่ได้จากการเลือกในขั้นตอนที่ 1- 3 มาคำนวณหาค่า Suction Force กันครับ ซึ่ง สามารถทำได้ทั้งสองวืธีนั้นก็คือ ใช้สูตรคำนวณ และ พิจารณาจากกราฟ
วิธีหาขนาด Vacuum Pad จากสูตร
ข้อมูลที่ได้จากแต่ละขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 : ต้องการยกแผ่นพลาสติกหนัก 1.2 kg (ประมาณ 12 N) [W]
ขั้นตอนที่ 2 : ใช้ Vacuum Pad แบบกลม (Standard type)
ขั้นตอนที่ 3 : จับชิ้นงานและยกชิ้นงานขึ้นตามแนวดิ่ง (Horizontal Lifting)
[f=1/4]
ข้อมูลที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมในขั้นตอนที่ 4
- จำนวน Vacuum Pad ที่ต้องการใช้งาน : 4 เพื่อให้เกิดความสมดุล [n]
- แหล่งจ่ายลมมีแรงดูด 60 kPA [P]
*** ไม่พิจารณาความเร่งที่เกิดจากการเคลื่อนที่ (เคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงที่) ***
แทนค่าลงในสูตรเพื่อหา ขนาดของ Vacuum Pad
นำข้อมูลข้างต้นแทนค่าลงในสูตรด้านล่าง
ดังนั้นขนาดของ Vacuum Pad ควรจะมีขนาดอย่างน้อย 15.96 mm. ขึ้นไปถึงจะเหมาะสมกับการใช้งาน
วิธีหาขนาด Vacuum Pad จากกราฟ
วิธีหาขนาด Vacuum Pad จากกราฟ เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่ใช้กันเพราะไม่ยุ่งยากซับซ้อนทำได้อย่างไร เรามาดูกันครับ
จากข้อมูลที่เรามีอยู่
แผ่นพลาสติกหนัก 1.2 kg
จำนวน Vacuum Pad ที่ใช้งาน 4 ชุด
แรงดูดที่ใช้งาน 65 kPa
คำนวณหาแรงดูด (Suction Force) ที่ Vacuum Pad 1 ตัวต้องรับน้ำหนัก
1.2/4 =0.3 kg หรือประมาณ 3 N
วิธีการใช้กราฟ หาขนาดของ Vacuum Pad
- ลากเส้น Suction Force 3 N ไปตัดกับเส้นแรงดูด 60 kPa
- เมื่อได้จุดตัดแล้ว ให้ลากเส้นจากจุดตัดไปทางด้านซ้ายมือ จะได้เส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ 15 mm.
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าการหาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ Vacuum Pad ด้วยวิธีการคำนวณและวิธีการหาจากกราฟ ค่าที่ได้มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งขนาดเล็กสุดที่ใช้งานได้คือ 15 mm. แต่ในความเป็นจริงแล้วมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องอีกมากมายเช่น ความเร่งในการเคลื่อน, คุณสมบัติของวัสดุ, สภาพแวดล้อมในการใช้งาน และอื่นๆ ดังนั้นเราควรจะเผื่อ ค่าความปลอดภัยและขนาดของเส้นผ่านศูนย์ของ Vacuum Pad ขึ้นอีกเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ใช้ขนาด 20 mm. เป็นต้น
5.พิจารณาวัสดุของ Vacuum Pad ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน
และข้อสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เลยนั้นก็คือ คุณสมบัติวัสดุซึ่งมีผลต่ออายุการใช้งานของ Vacuum Pad ซึ่งเพื่อนๆ สามารถดูข้อมูลได้จากตารางนี้
จบไปแล้วนะครับ สำหรับ 5 ขั้นตอนการเลือก Suction Cup หรือยางดูดสูญญากาศอย่างง่าย เพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้กลับไปไม่มากก็น้อย หากเพื่อนๆ สนใจตัวดูดสูญญากาศเพื่อนๆ สามารถคลิกเข้าสั่งซื้อได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเช่นเคยครับ