รู้จัก โซ่ส่งกำลัง หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญของเครื่องจักรในโรงงาน
สารบัญ
โซ่ส่งกำลัง ถือเป็นอีกทางเรื่องหนึ่งของการติดตั้งระบบส่งกำลังในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งนิยมใช้กันมากในการออกแบบเครื่องจักร เช่น เครื่องจักรทางการเกษตร เครื่องทอผ้า เป็นต้น การส่งกำลังแบบโซ่นั้น มีวิธีการส่งกำลังที่คล้ายกับการส่งกำลังด้วยสายพาน โดยที่โซ่ (chain) จะคล้องอยู่กับเฟืองโซ่ (sprocket) ซึ่งติดตั้งอยู่บนเพลาขับและเพลาตาม อัตราทดของการขับนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของเฟืองโซ่ทั้งสองฝั่ง แล้ว โซ่ส่งกำลังมีกี่ชนิด หาคำตอบได้ที่นี่
ข้อดีและข้อเสีย ของการใช้งานโซ่ส่งกำลัง
ข้อดี
- ไม่มีการสลิปเกิดขึ้นระหว่างโซ่กับเฟืองโซ่ ทำให้ได้อัตราทดที่แน่นอน
- การติดตั้งไม่ต้องการความเที่ยงตรงมากเมื่อเทียบกับการขับด้วยเฟือง
- ติดตั้งได้ง่ายกว่าสายพาน เพียงแค่คล้องโซ่เข้ากับเฟืองโซ่ หลังจากนั้นใช้สลักสอดเข้าไปในรูเพื่อยึดโซ่เข้าด้วยกันเป็นวงปิด
- มีขนาดเล็กกว่าสายพาน เมื่อใช้งานที่อัตราทดเท่ากัน ล้อของสายพานจะมีขนาดใหญ่กว่าเฟืองโซ่ ถ้าต้องการส่งกำลังเท่ากัน ความกว้างของโซ่ย่อมน้อยกว่าสายพาน
- ใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูง และในบริเวณที่มีความชื้นและฝุ่นละอองได้
ข้อเสีย
- เสียงดังในขณะใช้งาน
- ถ้าใช้งานที่ความเร็วรอบสูงอาจเกิดอันตรายได้หากโซ่ขาด
- เพลาต้องขนานกันเท่านั้น
- ไม่สามารถส่งกำลังแบบ (crossed drive) ได้
- หากไม่มีการหล่อลื่นจะส่งผลให้โซ่เกิดการสึกหรอได้ง่าย
- ราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกับการขับด้วยสายพาน
ส่วนประกอบของโซ่ส่งกำลัง
- แผ่นประกบด้านใน (outer link) ทำหน้าที่รับแรงดึง (tensile strength) และรองรับแรงกระชากที่เกิดในขณะทำงาน
- แผ่นประกบด้านนอก (outer link) ทำหน้าที่รับแรงดึง (tensile strength) และรองรับแรงกระชากที่เกิดในขณะทำงาน นอกจากนั้นยังเป็นตัวเชื่อมระหว่างโซ่แต่ละข้อ
- สลัก(pin) ทำหน้าที่รับแรงเฉือน (shearing strength) และแรงบิด (bending strength) ที่ถูกถ่ายเทมาจากแผ่นประกบด้านในและด้านนอก อีกทั้งยังรองรับแรงร่วมกับบุช ขณะเคลื่อนที่อยู่บริเวณร่องของฟันเฟือง ดังนั้นสลักที่ใช้งานตรงจุดนี้ต้องมีความแข็งแรงสูงมากเพื่อให้สามารถรับแรงเฉือน, แรงบิด, แรงดึง และแรงกระชาก
- โรลเลอร์ (roller) เป็นส่วนที่รองรับแรงกดและแรงกระแทก เมื่อโซ่วิ่งเข้าไปในเฟืองโซ่
- บุช(bush) เป็นชิ้นส่วนที่รับแรงมาจากหลายๆ ชิ้นส่วนของโซ่
โซ่ส่งกำลังมีกี่ชนิด
โซ่ส่งกำลังที่นิยมใช้ในการออกแบบเครื่องจักรอุตสาหกรรมนิยมใช้กัน 2 ชนิดดังนี้
1. โซ่ส่งกำลัง ชนิด Roller chains
Roller chains โซ่ชนิดนี้ประกอบด้วยแผ่นประกบด้านในและแผ่นประกบด้านนอก ยึดติดกันด้วยสลักและบุช มีโรลเลอร์กลวงติดตั้งร่วมกับบุช ซึ่งมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบ 1 ชั้น 2 ชั้น และ 3 ชั้น
2. โซ่ส่งกำลัง ชนิด Toothed chains
Toothed chains โซ่ชนิดนี้ประกอบด้วยแผ่นประกบหลายแผ่นเรียงซ้อนกันและยึดติดกันด้วยสลักดังรูป แผ่นประกบแต่ละแผ่นจะมีฟันสองฟัน ในขณะส่งกำลังข้อต่อโซ่จะทำหน้าที่เป็นจุดหมุนของข้อโซ่ ทำให้โซ่แนบสนิทกับฟันบนเฟืองโซ่ จึงมีการสึกหรอน้อย โซ่ชนิดนี้มีเสียงเบาในขณะใช้งานเมื่อเปรียบเทียบกับโซ่แบบโรเลอร์ บางครั้งโซ่ชนิดนี้อาจเรียกว่า silent chain แต่โซ่ชนิดนี้มีน้ำหนักมากกว่า ราคาสูงกว่า และบำรุงรักษายากกว่าโซ่แบบโรเลอร์
อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับโซ่ส่งกำลัง
1.เฟืองโซ่ (sprocket)
เป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ควบคู่กับโซ่ ฟันของเฟืองโซ่นั้นจะขบลงไปในร่องของเฟืองโซ่ เพื่อทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนระบบส่งกำลัง ซึ่งเฟืองโซ่มีรูปร่างหน้าตาที่หลากหลายให้เลือกใช้งาน ขึ้นอยู่กับการออกแบบ และชนิดของโซ่ที่นำมาใช้ร่วมกัน รูปร่างของฟันโซ่ที่นักออกแบบนิยมใช้กันมีดังนี้
2.Idler sprockets และ Chain guide tensioner
ใช้สำหรับปรับความตึงให้กับโซ่ส่งกำลังโดยจะติดตั้งในฝั่งที่โซ่หย่อน นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาในเรื่องแรงสั่นสะเทือนของโซ่ในขณะใช้งานได้อีกด้วย
ข้อควรระวังในการติดตั้ง
ถ้าติดตั้ง Idle หรือ Chain guide tensioner ในฝั่งที่โซ่ตึงนั้น จะทำให้อายุการใช้งานของโซ่สั้นลง อันเนื่องมากจากโซ่รับแรงดึงมากจนเกินไป จนทำให้เกิดความเค้นสะสมมาก
จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความเกี่ยวกับโซ่ส่งกำลัง การเลือกใช้งานโซ่ส่งกำลังนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต้องพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นวิธีการติดตั้ง โซ่ส่งกำลังมีกี่ชนิด การบำรุงรักษา และอื่น ๆ อีกมากมาย สุดท้ายนี้การเลือกโซ่ส่งกำลังควรเลือกตามความเหมาะสมของการใช้งาน ไม่ควรเลือกสเป็คที่สูงเกินความจำเป็นมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ต้นทุนในการออกแบบเครื่องจักรของเพื่อนๆ มีราคาที่สูง สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
No. | คำศัพท์ | คันจิ | ฮิรางานะ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
---|---|---|---|---|---|
1 | โซ่ส่งกำลัง (Chain) | – | – | チェーン | Chē-n |