รู้จักกับรางกระดูกงู ตัวช่วยในการจัดเก็บสายไฟในโรงงาน
สารบัญ
รางกระดูกงู (Cable Carrier) คืออะไร
รางกระดูกงู (Cable Carrier) เป็นอุปกรณ์สำคัญชิ้นหนึ่งที่นิยมใช้กับงานระบบ automation โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้มีไว้สำหรับจัดเก็บสายชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สายไฟ สายควบคุม หรือ สายพ่วงชนิดอื่น ๆ โดยเมื่อนำอุปกรณ์ชิ้นนี้ไปติดตั้งใช้งานร่วมกับชิ้นงานที่มีการเคลื่อนที่ อุปกรณ์ชิ้นนี้จะสามารถป้องกันสายไฟหักงอ พันกัน อีกทั้งยังสามารถป้องกันไม่ให้สายไฟหลุดออกจากกันในขณะเคลื่อนที่ได้อีกด้วย ในปัจจุบันรางกระดูกงูร้อยสายไฟ มีมากมายหลายประเภทให้เลือกใช้งาน ตัวอย่างเช่น รางกระดูกงูพลาสติก แบบมาตรฐาน, รางกระดูกงูพลาสติก แบบปิดทึบ, รางกระดูกงูแบบท่อสเตนเลส หากท่านอยากทราบรายละเอียดโครงสร้าง และฟังก์ชั่นการใช้งานสามารถอ่านได้ที่บทความนี้ครับ ประเภทของรางกระดูกงูร้อยสายไฟ
เมื่อทุกท่านพอจะทราบถึงรูปร่าง และหน้าที่การทำงานของรางกระดูกงูร้อยสายไฟคร่าว ๆ กันแล้ว เรามาดูในส่วนของข้อควรระวังในการติดตั้งสายสัญญาณในรางกระดูกงูกันครับ ว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง
ปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้ รางกระดูกงู ให้เหมาะสมกับงาน
- มีความแข็งแรงทนทาน เลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ใช้งาน
- ไม่ควรมีเสียงรบกวนที่ดังจนเกินไปในขณะเคลื่อนที่
- หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นละออง หรือ มีความเสี่ยงที่จะมีเศษวัสดุตกใส่ แนะนำให้ใช้กระดูกงู แบบมีฝาปิดทึบ เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เข้าไปทำความเสียหายแก่สายไฟที่อยู่ด้านในของรางกระดูกงู
- สามารถเปิด – ปิด ข้อต่อบา่่่่่งส่วนของรางกระดูงู ได้จากด้านบนหรือด้านล่างเพื่อความสะดวกในการใช้งานและซ่อมบำรุง
- ติดตั้งได้ง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป
4 ข้อควรระวังในการติดตั้งสายสัญญาณในรางกระดูกงู เบื้องต้น
1. ระยะห่างระหว่างสายสัญญาณแต่ละเส้นภายในรางกระดูกงู
อย่างที่ทราบกันดีในรางกระดูกงู เรามักจะร้อยสายสัญญาณภายในมากกว่า 1 เส้น แล้วสายแต่ละเส้น ควรมีระยะห่างระหว่างสายเท่าไร เรามีระยะที่เหมาะสมในการใช้งานของสายแต่ละประเภทมาให้ใช้อ้างอิงได้กันครับ โดยสามารถศึกษาข้อมูลได้ตามด้านล่างนี้
1.1 ระยะห่างของสายไฟ (Electrical cable)
ต้องเผื่อระยะออกไปอย่างน้อย 10 % ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสาย (Outside Diameter) และ ควรมีระยะห่างระหว่างสายอย่างน้อย 1 mm.
1.2 ระยะห่างของสายระบบลม (Pneumatic Lines)
แนะนำให้เผื่อระยะออกไป 15 % ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสาย (Outside Diameter) และ ควรมีระยะห่างระหว่างสายอย่างน้อย 2 mm.
1.3 ระยะห่างของสายระบบไฮโดรลิค (Hydraulic Hoses)
ให้เผื่อระยะออกไป 20 % ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสาย (Outside Diameter) และ ควรมีระยะห่างระหว่างสายอย่างน้อย 3 mm.
2. ไม่ควรวางสายสัญญาณซ้อนทับกันภายใน รางกระดูกงู
การวางสายสัญญาณทับกันภายในรางกระดูกงู จะทำให้สายสัญญาณเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดความร้อนขณะใช้งาน ซึ่งส่งผลให้สายเกิดความเสียหายได้
การติดตั้งสายที่ไม่เหมาะสม | การติดตั้งสายที่เหมาะสม |
---|---|
3. การกระจายน้ำหนักของสายสัญญาณภายใน รางกระดูกงูร้อยสายไฟ
การกระจายน้ำหนักของสายต่าง ๆ ภายในรางกระดูกงูร้อยสายไฟ ถือเป็นอีกข้อสำคัญที่ต้องพิจารณา หากน้ำหนักของสายสัญญาณที่ติดตั้งอยู่ภายในรางกระดูงูกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ อาจจะทำให้รางกระดูกงูนั้นมีอายุการใช้งานที่สั้นลงได้
รูปแบบการกระจายน้ำหนัก | คำอธิบาย |
---|---|
การกระจายน้ำหนักของสายที่ไม่เหมาะสม จะเห็นได้ว่า น้ำหนักของสายฝั่งซ้ายมือ จะมีน้ำหนักมากกว่าทางฝั่งขวามือ นั่นก็คือ การกระจายน้ำหนักไม่สม่ำเสมอนั่นเอง | |
การกระจายน้ำหนักของสายที่ดี แต่ยังไม่เหมาะกับการใช้งาน แม้ว่ากระจายน้ำหนักของสายอย่างสม่ำเสมอแล้ว แต่ยังมีโอกาสที่สายขนาดใหญ่ จะเคลื่อนที่มากดทับสายขนาดเล็กที่อยู่ตรงกลางจึงไม่แนะนำ | |
การกระจายน้ำหนักของสายที่เหมาะสม อีกทั้งป้องกันการเกิดสายทับซ้อนกันได้โดยการใส่ตัวกั้น (separator) |
4.รัศมีความโค้งของรางกระดูกงู
รัศมีความโค้งของรางกระดูกงูร้อยสายไฟ (Cable carrier) ควรมีขนาดที่ใหญ่กว่ารัศมีความโค้งของสายสัญญาณ หรือ สายโฮสอื่นๆ (allowable bending radius) เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดจากรางกระดูกงู งอแคบกว่าที่สายสัญญาณจะรับได้ ทำให้รางกระดูกงูไปบีบสายสัญญาณที่อยู่ภายในจนเสียหาย
จบไปแล้วนะครับ สำหรับความรู้พื้นฐานในการเลือกใช้งานรางกระดูกงูร้อยสายไฟ รวมไปถึงวิธีการเดินสายไฟในรางกระดูกงู เพื่อนๆ คงเริ่มอยากจะซื้อรางกระดูงูสักเส้นไปลองใช้แล้วใช่ไหมครับ ในบทความต่อไปเราจะมาสอนเพื่อนๆ คำนวณความยาวของรางกระดูกงูที่ต้องใช้กันครับ ว่าในการออกแบบเครื่องจักรสักเครื่องหนึ่ง เราควรจะใช้ขนาดของกระดูกงูยาวเท่าไหร่ แล้วต้องพิจารณาอะไรเป็นพิเศษ คอยติดตามชมกันใน บทความถัดไป ครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
No. | คำศัพท์ | คันจิ | ฮิรางานะ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
---|---|---|---|---|---|
1 | รางกระดูกงู (Cable carrier) | – | – | ケーブルキャリア | Kē – bu – ru – kya – ria |