Home » Technical » How to use » ดอกถอนเกลียว ใช้งานอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

ดอกถอนเกลียว ใช้งานอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

ในการประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรเข้าด้วยกันนั้น อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการยึดชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่นิยมใช้กันนั่นก็คือ โบลท์ (bolt), นัท (nut) และสกรู (screw) ซึ่งในบางครั้งก็อาจจะเกิดปัญหาในการใช้งานขึ้นมาได้ เช่น หัวสกรูบาน,หัวสกรูสึก,เกลียวขาด ขันไม่ออกทำอย่างไร รวมไปถึง ดอกถอนเกลียว(screw extractor) ใช้งานอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้

screw-tear
เกลียวขาด
bolt-infection
หัวโบลท์เสียหาย
screw-extractor
หัวสกรูบาน

โบลท์ สกรู นัท ต่างกันอย่างไร

ก่อนเราจะไปดูวิธีการแก้ไขปัญหา หัวสกรูบาน, หัวโบลท์เสียหาย เรามาดูข้อแตกต่างของ โบลท์, สกรูและนัท กันก่อนเลยครับว่ามีรูปร่างแตกต่างกันอย่างไร

screw
ตัวอย่าง สกรู หรือ ตะปูเกลียว
bolt
ตัวอย่าง โบลท์ หรือ น๊อตตัวผู้
nut
ตัวอย่าง นัท หรือ น๊อตตัวเมีย
  1. สกรู (Screw) หรือ ตะปูเกลียว คือ โลหะแท่งทรงกระบอกที่มีเกลียวล้อมรอบ สามารถใช้ยึดวัสดุโดยไม่จำเป็นต้องเตรียมเกลียวที่วัสดุชิ้นนั้น เช่น ขันยึดไม้
  2. โบลท์ (Bolt) สลักเกลียว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น๊อตตัวผู้ คือ แท่งโลหะทรงกระบอกที่มีเกลียวล้อมรอบ ต้องมีการทำเกลียวให้กับวัตถุก่อนการใช้งาน และมักจะใช้งานร่วมกับนัท
  3. นัท (Nut) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น๊อตตัวเมีย คือ แป้นเกลียวที่ใช้งานร่วมกับโบลท์หรือสลักเกลียวที่มีรูตรงกลาง และมีเกลียวอยู่ภายในมีรูปร่างหลายแบบ ตัวอย่างเช่น รูปทางหกเหลี่ยมดังรูปด้านบน

วิธีถอนสกรูในกรณี หัวสกรู/หัวโบลท์ บาน

โดยทั่วไปแล้วการถอนสกรูในกรณี หัวสกรู/หัวโบลท์ที่เสียหาย สามารถแก้ไขได้ 2 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 เจียรหัวสกรูให้เป็นร่องแล้วใช้ไขควงขันออก

การถอนสกรูที่เกิดความเสียหายด้วยวิธีนี้ อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีน้อยชิ้นไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยเพื่อนๆ ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้งานเครื่องเจียรขนาดเล็ก เพราะมีโอกาสที่ใบเจียรจะไปสัมผัสกับผิวชิ้นงานส่วนอื่นได้ แต่มีข้อจำกัด คือ ไม่สามารถใช้ได้กับกรณีโบลท์เกลียวขาด

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

Dremel
เครื่องเจียรขนาดเล็ก
screw-extractor-05
สารหล่อลื่น
Flat-screw-driver
ไขควงหัวแบน

ขั้นตอนการขันสกรูออก

screw-extractor

1.นำเครื่องเจียรขนาดเล็กเจียรหัวสกรูออกให้เป็นร่องกว้างพอสำหรับใช้ไขควงปากแบนขันออก(ต้องใช้ความระมัดระวังในการเจียร เพื่อไม่ให้ผิวชิ้นงานรอบข้างเสียหาย)

screw-extractor

2.พ่นสารหล่อลื่น ลงไปเพื่อช่วยในการหล่อลื่น

screw-extractor

3.ใช้ไขควงปากแบนขันที่รอยบากของสกรูตามทิศทางดังรูป จนสกรูหลุดออกมา เท่านี้เป็นอันเสร็จ

วิธีที่ 2 ใช้ ดอกถอนเกลียว(screw extractor) ขันออก

การถอนสกรู/โบลท์ด้วยวิธีนี้ ผิวชิ้นงานรอบรูเจาะจะไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นเลย แต่ก็แลกมาด้วยการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่มีค่อนข้างมากเช่นกัน เรามาดูกันครับต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง วิธีการนี้สามารถใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับสกรู/โบลท์ได้หลายรูปแบบ เช่น สกรู/โบลท์เกลียวขาด, โบลท์เสียรูปจนไม่สามารถใช้ประแจหกเหลี่ยมขันออกได้ เป็นต้น

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

electric-screwdriver
สว่านและดอกสว่าน
เหล็กตอกนำศูนย์ 
(Center Punch) 
screw-extractor-05
สารหล่อลื่น
iron-hammer
ค้อน
T-handle-screw-extractor
ด้ามจับดอกต๊าปเกลียว
screw-extractor
ดอกถอนเกลียว
(screw extractor)

ตัวอย่างการพิจารณาการเลือก ดอกถอนเกลียว ให้เหมาะสมกับงาน

ตัวอย่างเช่น ต้องการนำโบลท์ขนาด M12 (12 มม.) ที่หัวเสียหายจากการขัน ออกจากแผ่นเหล็กที่ติดตั้งอยู่ ต้องเจาะรูขนาดเท่าไหร่ ? เพื่อใช้งาน screw extractor
วิธีการเลือกขนาดหัวของ ดอกถอนเกลียวให้เหมาะสมกับขนาดของดอกสว่านที่ใช้เจาะรู สามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้

Table-selection-guide

เมื่อลองพิจารณาจากข้อมูล เพื่อนๆ รู้ขนาดของโบลท์แล้วนั้นก็คือ 12 มม. ซึ่งเมื่อดูจากตารางจะอยู่ระหว่าง 11.0-14.0 มม. จึงควรเจาะรูขนาด 6.5 มม. หากเพื่อนๆ ต้องการสั่งซื้อดอกถอนเกลียว ก็สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ โดยดูจากรหัสสินค้าได้เลยนั้นก็คือ “D” นั่นเอง ต่อไปเรามาดูวิธีการใช้งานดอกถอนเกลียว กันครับว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง

ขั้นตอนการใช้งาน ดอกถอนเกลียว

screw-extractor

1.นำที่ตอกนำศูนย์วางไว้ด้านบนของโบลท์ที่เสียหาย หลังจากนั้นใช้ค้อนตอกลงไป เพื่อเป็นการเตรียมรูสำหรับใช้สว่านเจาะ ในขั้นตอนถัดไป

screw-extractor

2.หยอดสารหล่อลื่นก่อนทำการเจาะรู

screw-extractor

3.ใช้สว่านเจาะรูบนหัวของโบลท์ ให้เกิดรูสำหรับใช้งานดอกถอนเกลียว
(ในตัวอย่างนี้จะใช้ดอกสว่าน 6.5 มม.)

screw-extractor

4.ประกอบดอกถอนเกลียวเข้ากับด้ามจับ

screw-extractor

5.เสียบชุดดอกถอนเกลียวเข้ากับรูที่เจาะไว้ก่อนหน้านี้ หลังจากนั้นใช้ค้อนตอก 2-3 ครั้งเพื่อให้ชุดดอกถอนเกลียวฝังเข้าไปในรูเจาะจนแน่น

screw-extractor

6.หมุนด้ามจับดอกต๊าปเกลียวตามทิศทางดังรูปจะเห็นว่า โบลท์ที่ค้างอยู่ภายในชิ้นงานจะหมุนติดมากับชุดดอกถอนเกลียว เป็นอันเสร็จ

จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความเกี่ยวกับวิธีแก้ไขปัญหา หัวสกรูบาน ,เกลียวขาด ขันไม่ออกทำอย่างไร นอกจากนี้ยังรวมไปถึง วิธีการเลือก screw extractor ให้ได้ขนาดที่เหมาะสมกับโบลท์ที่ต้องเอาออก หวังว่าเพื่อนๆ จะได้ความรู้กลับไปใช้แก้ไขปัญหาในงานไม่มากก็น้อย หากเพื่อนๆ สนใจสินค้าชนิดนี้สามารถเลือกดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิ/คาตาคานะฮิรางานะคำอ่าน
1 ดอกถอนเกลียวスクリューエクストラクターSu-ku-ryū-e-ku-su-to-ra-ku-tā

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 5

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า ดอกถอนเกลียว เพิ่มเติมได้ที่นี่
No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง