ดอกถอนเกลียว ใช้งานอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่
สารบัญ
ในการประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรเข้าด้วยกันนั้น อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการยึดชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่นิยมใช้กันนั่นก็คือ โบลท์ (bolt), นัท (nut) และสกรู (screw) ซึ่งในบางครั้งก็อาจจะเกิดปัญหาในการใช้งานขึ้นมาได้ เช่น หัวสกรูบาน,หัวสกรูสึก,เกลียวขาด ขันไม่ออกทำอย่างไร รวมไปถึง ดอกถอนเกลียว(screw extractor) ใช้งานอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้
โบลท์ สกรู นัท ต่างกันอย่างไร
ก่อนเราจะไปดูวิธีการแก้ไขปัญหา หัวสกรูบาน, หัวโบลท์เสียหาย เรามาดูข้อแตกต่างของ โบลท์, สกรูและนัท กันก่อนเลยครับว่ามีรูปร่างแตกต่างกันอย่างไร
- สกรู (Screw) หรือ ตะปูเกลียว คือ โลหะแท่งทรงกระบอกที่มีเกลียวล้อมรอบ สามารถใช้ยึดวัสดุโดยไม่จำเป็นต้องเตรียมเกลียวที่วัสดุชิ้นนั้น เช่น ขันยึดไม้
- โบลท์ (Bolt) สลักเกลียว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น๊อตตัวผู้ คือ แท่งโลหะทรงกระบอกที่มีเกลียวล้อมรอบ ต้องมีการทำเกลียวให้กับวัตถุก่อนการใช้งาน และมักจะใช้งานร่วมกับนัท
- นัท (Nut) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น๊อตตัวเมีย คือ แป้นเกลียวที่ใช้งานร่วมกับโบลท์หรือสลักเกลียวที่มีรูตรงกลาง และมีเกลียวอยู่ภายในมีรูปร่างหลายแบบ ตัวอย่างเช่น รูปทางหกเหลี่ยมดังรูปด้านบน
วิธีถอนสกรูในกรณี หัวสกรู/หัวโบลท์ บาน
โดยทั่วไปแล้วการถอนสกรูในกรณี หัวสกรู/หัวโบลท์ที่เสียหาย สามารถแก้ไขได้ 2 วิธีดังนี้
วิธีที่ 1 เจียรหัวสกรูให้เป็นร่องแล้วใช้ไขควงขันออก
การถอนสกรูที่เกิดความเสียหายด้วยวิธีนี้ อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีน้อยชิ้นไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยเพื่อนๆ ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้งานเครื่องเจียรขนาดเล็ก เพราะมีโอกาสที่ใบเจียรจะไปสัมผัสกับผิวชิ้นงานส่วนอื่นได้ แต่มีข้อจำกัด คือ ไม่สามารถใช้ได้กับกรณีโบลท์เกลียวขาด
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
ขั้นตอนการขันสกรูออก
1.นำเครื่องเจียรขนาดเล็กเจียรหัวสกรูออกให้เป็นร่องกว้างพอสำหรับใช้ไขควงปากแบนขันออก(ต้องใช้ความระมัดระวังในการเจียร เพื่อไม่ให้ผิวชิ้นงานรอบข้างเสียหาย)
2.พ่นสารหล่อลื่น ลงไปเพื่อช่วยในการหล่อลื่น
3.ใช้ไขควงปากแบนขันที่รอยบากของสกรูตามทิศทางดังรูป จนสกรูหลุดออกมา เท่านี้เป็นอันเสร็จ
วิธีที่ 2 ใช้ ดอกถอนเกลียว(screw extractor) ขันออก
การถอนสกรู/โบลท์ด้วยวิธีนี้ ผิวชิ้นงานรอบรูเจาะจะไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นเลย แต่ก็แลกมาด้วยการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่มีค่อนข้างมากเช่นกัน เรามาดูกันครับต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง วิธีการนี้สามารถใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับสกรู/โบลท์ได้หลายรูปแบบ เช่น สกรู/โบลท์เกลียวขาด, โบลท์เสียรูปจนไม่สามารถใช้ประแจหกเหลี่ยมขันออกได้ เป็นต้น
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
ตัวอย่างการพิจารณาการเลือก ดอกถอนเกลียว ให้เหมาะสมกับงาน
ตัวอย่างเช่น ต้องการนำโบลท์ขนาด M12 (12 มม.) ที่หัวเสียหายจากการขัน ออกจากแผ่นเหล็กที่ติดตั้งอยู่ ต้องเจาะรูขนาดเท่าไหร่ ? เพื่อใช้งาน screw extractor
วิธีการเลือกขนาดหัวของ ดอกถอนเกลียวให้เหมาะสมกับขนาดของดอกสว่านที่ใช้เจาะรู สามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้
เมื่อลองพิจารณาจากข้อมูล เพื่อนๆ รู้ขนาดของโบลท์แล้วนั้นก็คือ 12 มม. ซึ่งเมื่อดูจากตารางจะอยู่ระหว่าง 11.0-14.0 มม. จึงควรเจาะรูขนาด 6.5 มม. หากเพื่อนๆ ต้องการสั่งซื้อดอกถอนเกลียว ก็สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ โดยดูจากรหัสสินค้าได้เลยนั้นก็คือ “D” นั่นเอง ต่อไปเรามาดูวิธีการใช้งานดอกถอนเกลียว กันครับว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง
ขั้นตอนการใช้งาน ดอกถอนเกลียว
1.นำที่ตอกนำศูนย์วางไว้ด้านบนของโบลท์ที่เสียหาย หลังจากนั้นใช้ค้อนตอกลงไป เพื่อเป็นการเตรียมรูสำหรับใช้สว่านเจาะ ในขั้นตอนถัดไป
2.หยอดสารหล่อลื่นก่อนทำการเจาะรู
3.ใช้สว่านเจาะรูบนหัวของโบลท์ ให้เกิดรูสำหรับใช้งานดอกถอนเกลียว
(ในตัวอย่างนี้จะใช้ดอกสว่าน 6.5 มม.)
4.ประกอบดอกถอนเกลียวเข้ากับด้ามจับ
5.เสียบชุดดอกถอนเกลียวเข้ากับรูที่เจาะไว้ก่อนหน้านี้ หลังจากนั้นใช้ค้อนตอก 2-3 ครั้งเพื่อให้ชุดดอกถอนเกลียวฝังเข้าไปในรูเจาะจนแน่น
6.หมุนด้ามจับดอกต๊าปเกลียวตามทิศทางดังรูปจะเห็นว่า โบลท์ที่ค้างอยู่ภายในชิ้นงานจะหมุนติดมากับชุดดอกถอนเกลียว เป็นอันเสร็จ
จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความเกี่ยวกับวิธีแก้ไขปัญหา หัวสกรูบาน ,เกลียวขาด ขันไม่ออกทำอย่างไร นอกจากนี้ยังรวมไปถึง วิธีการเลือก screw extractor ให้ได้ขนาดที่เหมาะสมกับโบลท์ที่ต้องเอาออก หวังว่าเพื่อนๆ จะได้ความรู้กลับไปใช้แก้ไขปัญหาในงานไม่มากก็น้อย หากเพื่อนๆ สนใจสินค้าชนิดนี้สามารถเลือกดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
No. | คำศัพท์ | คันจิ/คาตาคานะ | ฮิรางานะ | คำอ่าน |
---|---|---|---|---|
1 | ดอกถอนเกลียว | スクリューエクストラクター | – | Su-ku-ryū-e-ku-su-to-ra-ku-tā |