วิธีการเลือก RS Actuator ให้เหมาะสมกับงาน
สารบัญ
ในบทความนี้เรามาดูตัวอย่างการใช้โปรแกรมคำนวณอย่างง่าย สำหรับการเลือกใช้ Actuator RS series กันครับว่ามีวิธีการใช้งานอย่างไร ก่อนจะไปดูวิธีการใช้งานโปแกรม เรามาทำความรู้จักกับโครงสร้างและส่วนประกอบที่สำคัญ RS Actuator กันก่อนครับว่ามีอะไรบ้าง
RS Actuator คืออะไร
RS Actuator หรือ Single Axis Actuator RS Series คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายตำแหน่งชิ้นงานในกระบวนการต่างๆของระบบอัตโนมัติ สามารถประยุกค์ใช้ได้หลายแบบเช่น ใช้ประกอบชิ้นส่วนให้ตรงตำแหน่ง (Part Assemble) , ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ป้อนงาน(Feeder)เพื่อจับและวางชิ้นงานในตำแหน่งอื่นๆ (Pick & Place) , ใช้จัดเก็บชิ้นงานในลักษณะเป็นชั้นๆ(Stacker) หรือใช้งานร่วมกับเซ็นเซอร์เพื่อตรวจสอบชิ้นงาน (Parts Inspection) เป็นต้น
โครงสร้างของ RS Actuator
โครงสร้างของ RS Actuator ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
- Motor ใช้ในการขับเคลื่อน มีทั้งที่เป็น Stepping Motor และ Servo Motor
- Coupling ใช้เชื่อมต่อระหว่าง Motor และ Ball Screw
- Ball Screw ใช้เพื่อเปลี่ยนการหมุนของมอเตอร์ เป็นการเคลื่อนที่เชิงเส้น
- Slider ใช้ยึดส่วนประกอบที่ต้องการควบคุมการเคลื่อนที่
- Guide Rail ใช้เพื่อรองรับน้ำหนักและเพิ่มความแม่นยำในการเคลื่อนที่ของ Slider
ขั้นตอนการเลือก RS Actuator โดยใช้โปรแกรม RS Axis
ในส่วนของวิธีการเลือก RS Single Axis Actuator นั้นสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
- เข้าเว็บไซต์ https://th.misumi-ec.com/
- เข้าไปที่แถบเครื่องมือ “ข้อมูลทางเทคนิค” บนเว็บไซต์ MISUMI
- คลิกเลือก”โปรแกรมคำนวณอุปกรณ์ในระบบออโตเมชั่น”
- เลือกลักษณะการนำไปใช้งานตามสภาพแวดล้อมของพื้นที่ (Operating Environment)
- ถัดไปคลิกเลือกรูปแบบการติดตั้ง RS Actuator ตามรูปแบบการติดตั้งและการเคลื่อนที่ของ Slider (Select Mounting Orientation)
- ในหน้า Enter Operating Conditions ทำการเลือกหรือใส่ค่าพารามิเตอร์ในช่องที่กำหนด
- Operating Patterns คือ การเลือกลักษณะการทำงานของ RS Actuator
- Stroke คือ ระยะการเคลื่อนที่สูงสุดของ Slider ที่ต้องการใช้งาน ตัวอย่างเช่น 400
- Push Force คือ ค่าแรงที่ใช้ในการกด สำหรับการใช้งานแบบ Push operation
- Load คือ น้ำหนักรวมของอุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อกับ RS Actuator และน้ำหนักของชิ้นงาน
- Velocity คือ ความเร็วเชิงเส้นในการเคลื่อนที่ สามารถเลือกเป็นช่วงความเร็ว(Select Velocity) หรือกำหนดค่าความเร็วที่ต้องการเอง(Specify Velocity)
- กด Next
- หลังจากใส่ค่าต่างๆ ที่ต้องการแล้ว โปรแกรมจะนำค่าไปคำนวณและแสดงรายการผลิตภัณฑ์ RS Actuator พร้อมข้อมูลทางเทคนิค ออกมาตามภาพด้านล่าง ให้คลิกเลือกสินค้าที่ต้องการในช่อง Select ตัวอย่างเช่น RSH320B หลังจากนั้นให้กด Next
- เมื่อเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการแล้ว ถัดไปจะเป็นตารางแสดงค่า Rigidity Of The Unit คือค่าระยะและค่าโมเมนต์ที่อนุญาตให้ใช้งานโดยขึ้นอยู่กับระยะ Lead ของ RS Actuator และ Mass ของอุปกรณ์ที่จะมาต่อใช้งาน
- Lead คือระยะการเคลื่อนที่ของแกน Ball Screw เมื่อหมุนครบ 1 รอบ
- Mass คือ น้ำหนักรวมของอุปกรณ์ที่มาต่อกับ RS Actuatorและ น้ำหนักชิ้นงาน
- หลังจากนั้นให้กด Next
- ถัดมาจะเป็นในส่วนของ Select Options ซึ่งจะให้เราเลือกส่วนประกอบต่างๆที่ใช้งานร่วมกับ RS Actuator ดังนี้
- Robot Body
- Grease Type Alteration เลือกว่าต้องการใช้จาระบีชนิดไหน
- Change of Origin Position Motor เลือกว่าต้องการเปลี่ยนตำแหน่งมอเตอร์หรือไม่
- Controller
- Controller เลือกชนิดแหล่งจ่ายไฟของ Controller โดยมีให้เลือกทั้งแบบ AC100-115V และ AC200-230V รวมไปถึงสามารถเลือกได้ระหว่าง Absolute Type หรือ Incremental Type
- I/O Module เลือกประเภทของการรับสัญญาณ Input/Output โดยมีให้เลือกทั้งแบบ NPN, PNP และ CC-Link
- Noise Filter สามารถเลือกได้ทั้งแบบมีตัวกรองสัญญาณรบกวน (F1) หรือ ไม่มีตัวกรองสัญญาณรบกวน (F0)
- Cable Length
- Cable Length เลือกความยาวสายไฟ หน่วยเป็นเมตร รวมไปถึงสามารถเลือกชนิดของสายไฟได้ด้วยเช่นกัน อาทิ
Standard Cable : เป็นสายไฟมาตรฐาน
Flexible Cable : เป็นสายไฟที่ถููกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานที่มีการเคลื่อนที่หรือย้ายตำแหน่งไปมาบ่อยๆ
- Cable Length เลือกความยาวสายไฟ หน่วยเป็นเมตร รวมไปถึงสามารถเลือกชนิดของสายไฟได้ด้วยเช่นกัน อาทิ
- Options
- Alterations เลือกว่าต้องการชนิดรีโมทควบคุมด้วยมือแบบไหน
- Support Software w/USB Cable เลือกว่าต้องการโปรแกรมและสาย USB หรือไม่
- I/O Cable เลือกว่าต้องการสายสัญญาณ Input/Output หรือไม่
- Robot Instruction Manual เลือกภาษาของคู่มือการใช้งานในส่วนของโครงสร้าง RS Actuator
- Controller Instruction Manual เลือกภาษาของคู่มือการใช้งานในส่วนของการควบคุม RS Actuator
- Robot Body
- เมื่อเลือก Option เรียบร้อยแล้ว ถัดไปจะเป็นสรุปรายละเอียดทุกอย่างของ RS Actuator ตามความต้องการของเรา ดังภาพด้านล่าง
ตัวอย่างการคำนวณ Simple Cycle Calculation เพื่อคำนวณหา Cycle Time ของ Actuator
ในการคำนวณหา Cycle Time ของ Actuator เพื่อนๆสามารถทำได้ คลิกเข้าไปที่ Simple Cycle Calculation และกรอกค่าต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณซึ่งมีดังนี้
- Velocity คือ ความเร็วเชิงเส้นหรือความเร็วในการเคลื่อนที่ของ Slider
- Stroke คือ ระยะเคลื่อนที่ของ Slider
- (De) Acceleration คือ ค่าอัตราเร่งหรืออัตราหน่วงความเร็วของการเคลื่อนที่
- Response Time คือ เวลาในการประมวลผลคำสั่งก่อนการเริ่มกระบวนการขั้นต่อไป
- ผลลัพท์ที่ได้จะบอกถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของ RS Actuator
ตัวอย่างการคำนวณ Simple Cycle Calculation เพื่อคำนวณหา Cycle Time ของ Actuator
จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความ วิธีการใช้โปรแกรมคำนวณ RS Actuator อย่างง่าย เพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการคำนวณเบื้องต้นของอุปกรณ์ชิ้นนี้เบื้องต้นกัน ไม่มากก็น้อย ในบทความถัดไปเรามาดูกันครับว่า จะมีโปรแกรมคำนวณทางวิศวกรรมตัวไหนที่น่าสนใจที่ทาง MISUMI Technical จะนำมาฝากกันครับ