วิธีการเลือก LS Actuator ให้เหมาะสมกับงาน
สารบัญ
LS Actuator เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ แล้วเราจะเลือกอุปกรณ์ชิ้นนี้ได้อย่างไร วันนี้ทาง MISUMI Technical เรามีโปรแกรมที่ช่วยในการคำนวณ เพื่อเลือก actuator ชิ้นนี้ให้เหมาะสบกับการใช้งานของเพื่อนๆ เรามาดูกันครับว่า โปรแกรมนี้มีการใช้งานอย่างไร ทั้งหมดนี้หาคำตอบได้ในบทความนี้
LS Actutator คืออะไร
LS Actuator อุปกรณ์สำหรับใช้ในระบบของเครื่องจักรอัตโนมัติสำหรับใช้ขนย้ายชิ้นงานจากกระบนการหนึ่งไปยังอีกกระบวนการหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เป็นอุปกรณ์สำหรับติดตั้งโต๊ะวางชิ้นงาน โดยสามารถติดตั้งได้ทั้งในแนวดิ่งและในแนวระดับ
โครงสร้างของ LS Actuator
ก่อนเราจะไปดูวิธีการเลือก LS Actuator เรามาดูส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์ชิ้นนี้กันครับว่ามีอะไรบ้าง ในส่วนของระบบขับเคลื่อนนั้น มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1. ใช้มอเตอร์ขับบอลสกรู (Single Axis Actuators LS10 – Ball Screw)
2. ใช้มอเตอร์ขับพูลเล่ย์เพื่อส่งกำลังไปยังสายพาน (Single Axis Actuators LST10 – Ball Screw)
นอกจากนี้เพื่อนๆ ยังสามารถเลือกชนิดของมอเตอร์ได้ทั้งแบบ Stepping Motor และ Servo Motor อีกด้วย
ขั้นตอนการเลือก LS Actuator โดยใช้โปรแกรมคำนวณ
ในส่วนของวิธีการเลือก LS Single Axis Actuator นั้นสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
การเลือก LS Actuator ขั้นตอนที่ 1 Selection
- เข้าเว็บไซต์ https://th.misumi-ec.com/
- เข้าไปที่แถบเครื่องมือ “ข้อมูลทางเทคนิค” บนเว็บไซต์ MISUMI
- คลิกเลือก”โปรแกรมคำนวณอุปกรณ์ในระบบออโตเมชั่น”
- ในส่วนของ การเลือก LS Actuator ขั้นตอนที่ 1 Selection ให้เลือกชนิด(Type) ของ actuator โดยสามารถดูข้อมูลสินค้าได้ตามด้านล่าง
- ตัวอย่างความหมายของรหัสสินค้า Type
ตัวอย่างเช่น LS1002-60 หมายถึง
– LS10 หมายถึง LS Actuator series 10
– 02 หมายถึง ระยะหลีดของบอลสกรู (Ball Screw Lead)
– 60 หมายถึง ระยะการเคลื่อนที่ของลูกบล็อค
- ตัวอย่างความหมายของรหัสสินค้า Type
- เลือกระยะในการเคลื่อนที่ (Stroke)
- เลือกรูปแบบการติดตั้งของ LS Actuator โดยมีให้เลือกด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ แนวนอน (Horizontal), แนวตั้ง (Vertical) และ ติดตั้งกับผนัง (Wall mount)
- คลิกปุ่ม Next เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป
การเลือก LS Actuator ขั้นตอนที่ 2 Operation Conditions
ใส่ค่าสำหรับใช้ในการคำนวณของตัวแปรแต่ละค่าดังนี้
- ใส่ค่าระยะ Stroke (เป็นระยะการเคลื่อนที่ของลูกบล็อคที่ได้ทำการเลือกไว้ใน ขั้นตอนที่ 6 )
- ใส่ค่า Movement Speed(V) หรือค่าความเร็วในการเคลื่อนที่โดยประมาณ เช่น 20 (ไม่ต้องใส่หน่วย)
- ใส่ค่า Accelaration/Deccelaration time (ระยะเวลาของการเคลื่อนที่ในช่วงที่มีความเร่งความเร็วและความหน่วง)
- ใส่ค่า Cycle per minute (จำนวนรอบของการเคลื่อนที่ ใน 1 นาทีโดยนับจากการเคลื่อนที่ไปและกลับ นับเป็น 1 รอบ) เช่น 3 (ไม่ต้องใส่หน่วย)
- ใสค่า Load Coefficient (ค่า Safety Factor อันเนื่องมากจากการสั่นสะเทือนในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง) เช่น 1.2
- ใส่ค่า Operating condition (สภาพแวดล้อมในการใช้งาน) โดยมีให้เลือกใช้ดังนี้
- No external impact vibration and low speed (≦ 15 m/min)
[ไม่มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำกว่า 15 เมตร/นาที] - Little external impact vibration and medium speed (≦ 60 m/min)
[มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอกเล็กน้อย และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วน้อยกว่า 60 เมตร/นาที] - External impact vibration and high speed (≦ 60 m/min)
[มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากกว่า 60 เมตร/นาที]
- No external impact vibration and low speed (≦ 15 m/min)
- คลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป
การเลือก LS Actuator ขั้นตอนที่ 3 Mounting Conditions
ใส่ค่าที่ต้องใช้คำนวณเพิ่มเติมดังนี้
- ใส่ค่า W (kg) หรือน้ำหนักของชิ้นงานที่วางบนลูกบล็อคที่เคลื่อนที่บน บอลสกรู เช่น 4 กิโลกรัม (ไม่ต้องใส่หน่วย)
*** ในส่วนของค่า X,Y และ Z ให้ใส่เป็น 0 ในกรณีที่วางชิ้นงานไว้ตรงกลางของลูกบล็อค*** - คลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป
ความหมายของตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากการคำนวณ
หลังจากที่เรากด Next ในขั้นตอนที่ 17 เสร็จแล้ว ตัวโปรแกรมจะแสดงหน้าตาของ Report ขึ้นมา เรามาดูกันครับว่า ความหมายของตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากการคำนวณนั้นมีความสำคัญอย่างไรบ้าง
Life Span คือ อายุการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชนิด โดยมีหน่วยให้เลือกทั้งแบบระยะทางกิโลเมตร, ชั่วโมง และ ปี
วิธีการเลือก Motor และ Sensor สำหรับ LS Actuator
LS Actuator นั้นรองรับการใช้งานร่วมกับ Stepping motor และ Servo motor เรามาดูกันครับว่าเราจะมีวิธีการกำหนดขนาดของหน้าแปลนให้เหมาะสมกับมอเตอร์แต่ละรุ่นได้อย่างไร
ในการเลือกหน้าแปลนสำหรับมอเตอร์แต่ละชนิดนั้นเพื่อนๆ สามารถพิจารณาได้จากรหัสสินค้าในกรอบสีแดงซึ่งจะช่วยบอก ได้ว่าหน้าแปลนขนาดนี้สามารถใช้งานร่วมกับมอเตอร์รุ่นไหนได้บ้าง ในส่วนของการระบุรหัสสั่งซื้อนั้น สามารถระบุรหัสของ Motor adapter plate เพิ่มเติมต่อจาก รหัสของระยะ Stroke ได้ทันที
การเลือก Sensor ให้เหมาะสมกับ LS Actuator
LS Actuator นั้นรองรับการใช้งานร่วมกับ Proximity sensor และ Photo sensor เรามาดูกันครับว่า เราจะมีวิธีการเลือกได้อย่างไรบ้าง และกำหนดรหัสสินค้าได้อย่างไร หากเพื่อนๆมีค่าสงสัยเกี่ยวกับ Proximity sensor และ Photosensor แตกต่างกันอย่างไร สามารถอ่านต่อได้ที่นี่
ในการเลือกเซนเซอร์สำหรับ LS Actuator นั้น สามารถทำได้โดยการเพิ่มรหัสสินค้าของเซนเซอร์ที่ระบุไว้บนแคตตาล็อคสินค้ารุ่นนี้(ในกรอบสีแดง)และตามด้วยจำนวนเซนเซอร์ (ในกรอบสีม่วง) โดยระบุตามหลังรหัสสินค้าของหน้าแปลนตัวอย่างเช่น ต้องการใช้ Photo Sensor 3 ตัว ก็สามารถระบุรหัสสินค้าได้เป็น MP3 ได้เลย
จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความ 3 Step ในการพิจารณาเลือกใช้ LS Actuator เพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการคำนวณเบื้องต้นของอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่มากก็น้อย ในบทความถัดไปเรามาดูกันครับว่า จะมีโปรแกรมคำนวณทางวิศวกรรมตัวไหนที่น่าสนใจที่ทาง MISUMI Technical จะนำมาฝากกันครับ