วิธีการใช้งานซอฟแวร์สำหรับคำนวณขนาดของแบริ่ง
สารบัญ
พิกัดความเผื่อของแบริ่ง ถือเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่สำคัญในการประกอบเครื่องจักร แล้วเราจะเลือกขนาดของแบริ่ง พร้อมกับพิกัดความเผื่อได้อย่างไร วันนี้ทาง MISUMI Technical เรามีโโปรแกรมที่จะช่วยให้การคำนวณขนาดของแบริ่งนั้นเป็นเรื่องง่าย เรามาดูกันครับว่าโปรแกรมนี้มีการใช้งานอย่างไร
ขั้นตอนการใช้โปรแกรมคำนวณค่าต่างๆ ของแบริ่ง
- เข้าเว็บไซต์ https://th.misumi-ec.com/
- เข้าไปที่แถบเครื่องมือ “ข้อมูลทางเทคนิค” บนเว็บไซต์ MISUMI
- คลิกเลือก”โปรแกรมคำนวณอุปกรณ์ในระบบออโตเมชั่น”
2.รู้จักเมนูของซอฟแวร์
เมื่อคลิกเข้ามาแล้วเว็บจะแสดงหน้าเมนูของซอฟแวร์โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
A. ช่องสำหรับเลือกแบริ่งและวิธีที่จะนำแบริ่งไปใช้งาน
B. ช่องแสดงความสัมพันธ์ของขนาดในการติดตั้งแบริ่ง
C. ช่องแสดงคุณสมบัติของแบริ่งที่เลือก
การเลือกขนาดแบริ่ง
การเลือกขนาดของแบรื่งสามารถเลือกได้ด้วยกัน 2 วิธีดังนี้
วิธีที่ 1 กรณีไม่ทราบรหัสของแบริ่ง
- คลิกเลือกไอคอนรูปฟันเฟือง หลังจากนั้นจะปรากฏหน้าต่างแสดงแบริ่งขนาดต่างๆออกมา
- เลือกขนาดของแหวนนอก(OD) แหวนใน(ID) ความหนา(Width) และวัสดุของแบริ่ง(Material) จากนั้นคลิก Select
วิธีที่ 2 กรณีทราบรหัสของแบริ่ง
- คลิกที่ลูกศรชี้ลง หลังจากนั้นจะปรากฏเลข Part Number ของแบริ่งลงมา(วิธีนี้ใช้ได้เมื่อรู้ Part Number ของแบริ่งมาก่อนแล้ว) หรือ สามารถพิมพ์รหัสของแบริ่งลงไปได้เลยเช่นกัน
- คลิกเลือก Part Number ของแบริ่งที่ต้องการ
การหาพิกัดความเผื่อ(Tolerance)ของเพลาที่จะนำมาสวมกับแบริ่ง
ค่าพิกัดความเผื่อของแบริ่ง จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับรูปแแบการเคลื่อนที่ของแบริ่งหรือแรงที่มากระทำ
- คลิกปุ่มลูกศรชี้ลงด้านล่างท้ายกล่องข้อความใต้คำว่า Load Type:
- เลือกรูปแบบการเคลื่อนและการรับแรงของแบริ่ง โดยมีให้เลือกใช้งานด้วยกัน 2 รูปแบบ ดังนี้
- Rotating Inner Ring Load – จะเป็นแบบแหวนใน (Inner Ring) จะหมุนไปพร้อมกับเพลา
- Station Inner Ring Load – จะเป็นแบบแหวนวงใน (Inner Ring) จะอยู่กับที่ และให้แหวนวงนอกเป็นส่วนเคลื่อนที่แทน
- หลังจากนั้น จะปรากฏแถบเมนูขึ้นมา ให้ระบุรายละเอียดการใช้งานเพิ่มเติมได้ดังนี้
- กรณีเลือก Rotating Inner Ring Load
- Light or Fluctuating Load หมายถึง มีแรงมากระทำต่อแบริ่งแบบไม่คงที่
- Ordinary Load หมายถึง ไม่มีแรงภายนอกมากระทำหรือมีแต่คงที่ตลอดการใช้งาน
- กรณีเลือก Station Inner Ring Load
- Inner Ring must move easily over shaft หมายถึง แหวนใน จำเป็นต้องขยับได้ง่ายบนผิวเพลา
- Inner Ring does not have to move easily over shaft หมายถึง แหวนใน ไม่จำเป็นต้องขยับได้ง่ายบนผิวเพลา
- กรณีเลือก Rotating Inner Ring Load
- เมื่อเลือกรูปแบบแรงที่กระทำต่อแบริ่งเสร็จแล้วจะปรากฎช่องบอกถึงพิกัดความเผื่อของเพลา(Shaft Tolerance)ออกมาด้านล่าง
- เมื่อทำครบทุกขั้นตอนแล้ว ค่าต่างๆจะปรากฏขึ้นในช่องถัดมา เช่น ขนาดของเพลา และ ขนาดของแบริ่ง
การหาพิกัดความเผื่อของรูสำหรับสวมแบริ่ง(Housing)
สังเกตที่แถบสีน้ำเงินที่มีข้อความว่า Determine Housing Tolerance
- คลิกปุ่มที่มีลูกศรชี้ลงมาในช่องใต้คำว่า Load Type
- จากนั้นให้ทำการเลือกรูปแบบการใช้งานของแบริ่งอีกครั้ง
- เมื่อเลือกรูปแบบการใช้งานแล้วจะปรากฎช่องว่างด้านล่างขึ้นมา ให้คลิกปุ่มลูกศรชี้ลงด้านล่าง จากให้ทำการเลือกคุณสมบัติของแบริ่งที่ต้องการ
(บางคุณสมบัติจำเป็นต้องทำการเลือกเงื่อนไขอีกครั้ง) - พิกัดความเผื่อของรูสำหรับสวมแบริ่ง(Housing Tolerance)จะปรากฏออกมาด้านล่าง
- เมื่อทำครบทุกขั้นตอนแล้ว ขนาดของแบริ่ง เพลา และรูสำหรับสวมแบริ่งจะปรากฏขึ้นอย่างครบถ้วนในช่องถัดมา
การอ่านผลลัพธ์จากช่อง MISUMI Rotary Bearing Tolerances and Fits
- รหัส (Part Number) ของแบริ่ง
- คำบรรยายของแบริ่ง
- ชนิดของแบริ่ง
- จำนวนของรางที่ใช้บรรจุลูกปืนภายในแบริ่ง
- วัสดุของแหวนนอกและแหวนในของแบริ่ง
- วัสดุของลูกปืนภายในแบริ่ง
- รูปทรงของแหวนนอก
- ความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางของรูในแหวนใน
- ความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางของแหวนนอก
- ความยาวของแบริ่ง
- เส้นผ่านศูนย์กลางของเพลา(มิลลิเมตร)และรหัสพิกัดความเผื่อ
- เส้นผ่านศูนย์กลางของรูสำหรับติดตั้งแบริ่ง(มิลลิเมตร)และรหัสพิกัดความเผื่อ
- ค่าของพิกัดความเผื่อของแหวนนอกและแหวนในหน่วย 0.00X มิลลิเมตร
- ค่าของพิกัดความเผื่อของแบริ่งและรูสำหรับสวมแบริ่งในหน่วย 0.00X มิลลิเมตร
- ขีดจำกัดความเร็วรอบการหมุนของแบริ่ง
- ขีดจำกัดของแรงที่กระทำต่อแบริ่งในหน่วย นิวตัน เมื่อแรงที่กระทำไม่คงที่
- ขีดจำกัดของแรงที่กระทำต่อแบริ่งในหน่วย นิวตัน เมื่อแรงที่กระทำคงที่
- ประเภทของฝาปิด(Seal)ของแบริ่ง
- ลักษณะของฝาปิดแบริ่ง
- ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม RoHS หรือไม่
- ระดับของแบริ่ง
- รหัสหมวดหมู่ของแบริ่ง
- ช่วงอุณหภูมิที่แบริ่งจะทำงานได้อย่างปกติ
จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความ วิธีการใช้ซอฟแวร์สำหรับคำนวณขนาดของแบริ่ง อย่างง่าย เพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการคำนวณเบื้องต้นของอุปกรณ์ชิ้นนี้เบื้องต้นกัน ไม่มากก็น้อย ในบทความถัดไปเรามาดูกันครับว่า จะมีโปรแกรมคำนวณทางวิศวกรรมตัวไหนที่น่าสนใจที่ทาง MISUMI Technical จะนำมาฝากกันครับ