5 ขั้นตอนในการเลือกล้อรถเข็น (Caster) สำหรับงานอุตสาหกรรม
กำลังมองหา ล้อรถเข็น (Caster) แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรใช่ไหม? ในบทความนี้เราจะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับวิธี และเทคนิคการเลือกแบบง่ายๆเพียง 5 ขั้นตอนดังนี้
1.ชนิดล้อรถเข็น (Caster Type) พร้อมลักษณะการใช้งาน
สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง คือ ชนิดของล้อรถเข็นในงานอุตสาหกรรม โดยเลือกตามลักษณะการใช้งาน หรือ รูปแบบการติดตั้งระหว่างล้อกับตัวรถเข็นดังนี้
Plate Type Swivel
ติดตั้งแบบแผ่น plate ชนิดหมุนปรับทิศทางได้
Plate Type Fixed
ติดตั้งแบบแผ่น plate ชนิดหมุนปรับทิศทางไม่ได้
With Leveling Mounts
ติดตั้งแบบแผ่น plate มีขาสำหรับล็อคตำแหน่ง
Plug-In Type
ติดตั้งแบบสวม
Resin
วัสดุเป็นพลาสติก
Angle Type
ติดตั้งแบบแผ่น plate เป็นมุมในแนวตั้ง
2. การคำนวณโหลดการรับน้ำหนัก (Load Range) สำหรับล้อรถเข็น
ในการใช้ล้อรถเข็นให้เหมาะกับประเภทงานต่างๆ จำเป็นจะต้องคำนวณโหลดการรับน้ำหนักให้เหมาะสมเพื่อที่จะได้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับการใช้งานที่ถูกต้อง โดยดูจากสูตรการคำนวณโหลดน้ำหนัก(Load Rand Formula) ต่อไปนี้
T= [ (E+Z)/n ]x 0.8
T = โหลดน้ำหนักสำหรับ 1 ล้อ(kg) E = น้ำหนักของตัวรถ (kg) Z = น้ำหนักสูงสุดของสินค้าที่ขนส่ง(kg)
n = จำนวนล้อที่ใช้งาน 0.8 = ค่าสัมประสิทธิความปลอดภัย
* หมายเหตุ : ในเว็บไซต์ของ MISUMI จะใช้หน่วยของโหลดรับน้ำหนักเป็น daN
daN มาจาก deca-newton(เดคา-นิวตัน) เป็นแรงในหน่วยนิวตัน(N) ซึ่ง deca คือคำอุปสรรคในหน่วย SI ที่มีค่าเท่ากับ 10 หรือพูดง่ายๆ 1daN = 10N ≈ 1kg [1]
3. วิธีการเลือกชนิดของ Stopper สำหรับล้อรถเข็น ที่ควรรู้
ในการใช้งานล้อรถเข็นสำหรับงานอุตสาหกรรม หรือ โรงงานนั้น สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลย คือ Stopper ที่มีไว้สำหรับการล็อคการเคลื่อนที่ของล้อรถเข็น มีให้เลือก 3 แบบด้วยกันดังต่อไปนี้
- Rotation Stopper เป็น stopper สำหรับล็อคล้อให้ล้ออยู่กับที่ เหมือนการเบรครถทั่วไป
- Swivel Stopper เป็น stopper สำหรับล็อคให้ปรับทิศทางไม่ได้ เป็นเหมือนกับการล็อคคอรถมอเตอร์ไซค์โดยที่ตัวล้อยังสามารถหมุนได้
- Double Stopper (Rotation + Swivel) เป็น stopper สามารถล็อคล้อทั้ง 2 แบบที่กล่าวมาข้างต้น
4. เลือกวัสดุล้อ (Wheel material) อย่างไรให้เหมาะสมกับงาน
นอกจาก การโหลดน้ำหนักแล้วสิ่งที่ขาดไปไม่ได้สำหรับการเลือกใช้ ล้อรถเข็นสำหรับงานอุตสาหกรรมนั้น คือ ความแข็งแรง รูปทรง และวัสดุ สิ่งเหล่านี้ต่างมีผลต่อการเคลื่อนที่ของล้อไม่ว่าจะเป็นรถเข็นธรรมดาหรือล้ออุตสาหกรรม โดยปกติแล้ววัสดุของล้อนั้นควรมีความแข็งน้อยกว่าพื้นที่ใช้งาน มิเช่นนั้นอาจจะเกิดความเสียหายต่อพื้นได้
พื้นที่ใช้งานนั้นต้องสามารถรับแรงจากตัวรถเข็นรวมทั้งน้ำหนักสินค้าที่บรรทุกได้ และจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้งานกับพื้นที่เป็นไม้ คอนกรีต หรือพื้นที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้า
ตารางแสดงคุณสมบัติวัสดุของล้อ (◎ = ดีเยี่ยม , ○= ดี, △= พอใช้ , Χ = แย่)
ITEM | Rubber | Urethane Rubber | TPE | Nylon (White) | MC Nylon | Polypropylene | Phenol |
ทนการขัดถู | ◎ | ◎ | ○ | ○ | ◎ | △ | ○ |
ทนน้ำมัน | △ | ○ | △ | ◎ | ◎ | ◎ | ◎ |
ทนน้ำ | ◎ | ○ | ◎ | ◎ | ◎ | ◎ | ○ |
ราคา | ◎ | ○ | ○ | ◎ | △ | ◎ | △ |
เสียง | ◎ | ○ | ○ | Χ | △ | Χ | △ |
โหลดรับน้ำหนัก | △ | ◎ | △ | △ | ◎ | △ | ◎ |
แรงเสียดทาน การเคลื่อนที่ | △ | ○ | ○ | ○ | ◎ | ○ | ◎ |
ความแข็ง(Shore) | 70±5 | 90±5 | 90±5 | – | – | – | – |
อุณหภูมิใช้งาน ℃ | -5~60 | -20~80 | -10~100 | -10~120 | -20~120 | 0~100 | -40~180 |
ITEM | Special Reinforced Plastic | Electrically Conductive Rubber | Electrically Conductive MC Nylon | Casting |
ทนการขัดถู | △ | ◎ | ◎ | ◎ |
ทนน้ำมัน | ○ | △ | ◎ | ◎ |
ทนน้ำ | ○ | ◎ | ◎ | ○ |
ราคา | ○ | ○ | △ | ○ |
เสียง | △ | ◎ | △ | Χ |
โหลดรับน้ำหนัก | ◎ | △ | ◎ | ◎ |
แรงเสียดทานการเคลื่อนที่ | ○ | △ | ◎ | ○ |
ความแข็ง(Shore) | – | 75±5 | – | – |
อุณหภูมิใช้งาน ℃ | -20~80 | -5~60 | -20~120 | -40~200 |
Material | วัสดุ | คุณลักษณะ |
---|---|---|
Rubber | ยาง | เป็นวัสดุที่ใช้กันใช้กันอย่างแพร่หลาย ราคาถูกแต่ทนน้ำมันได้ไม่ดี และยางสีดำอาจทำให้พื้นเป็นรอยได้ |
Urethane Rubber | ยางยูรีเทน | มีความแข็งกว่า ยาง (rubber) ทนน้ำมันได้ดีและไม่ทำให้พื้นเป็นรอย |
TPE (Thermoplastic Elastomer) | เทอร์โมพลาสติก | เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติอยู่ระหว่างยาง(Rubber)และเรซิน(Resin) มีเสียงที่เบาเวลาวิ่ง |
Nylon (White) | ไนลอนสีขาว | เคลื่อนที่ได้นุ่มนวล มีความแข็งสูง ไม่มีการโก่งตัวและทนน้ำมันได้ดี ข้อเสียคือทำให้พื้นเป็นรอยและมีเสียงดังเวลาวิ่ง |
MC Nylon (Monomer-Cast Nylon) | เอ็มซี ไนลอน | ทนน้ำมันได้ดีเหมือนกับไนลอน(Nylon) และมีความแข็งแรงสูง |
Polypropylene | โพรพรีลีน | เคลื่นที่ได้นุ่มนวล มีความแข็งสูง ไม่มีการโก่งตัวเหมือนกับไนลอน และมีราคาถูก |
Phenol | ฟีนอล | ทนต่อน้ำมัน ความร้อนได้ดีเยี่ยม และรับน้ำหนักได้มาก |
Special Reinforced Plastic | พลาสติกเสริมพิเศษ | มีความแข็งแรงดีเยี่ยม รับน้ำหนักได้มาก ราคาถูก |
Electrically Conductive Rubber | ยางนำไฟฟ้า | เป็นยางสังเคราะห์ SBR ผสมกับคาร์บอน ซึ่งสามาถทำหน้าที่เป็นเสมือนสายดิน |
Electrically Conductive MC Nylon | ยางนำไฟฟ้า เอ็มซี ไนลอน | เป็นยางที่ชุบด้วยจารบีป้องกันไฟฟ้าสถิต เหมาะสำหรับพื้นที่หรือ สภาพแวดล้อมที่ไม่ต้องการให้มีฝุ่นเกาะ |
Casting | ทนอุณหภูมิและแรงกระแทกได้สูง ข้อเสียคือมีน้ำหนักที่มากและอาจเกิดสนิมได้ |
5.ระบุความสูงของตำแหน่งติดตั้ง (Mounting Height) ล้อรถเข็น
สิ่งสุดท้ายที่ไม่สามารถมองข้าม ได้เลยนั้นก็คือ ความสูงของตำแหน่งติดตั้ง (Mounting Height) โดย ความสูงระหว่างจุดต่ำสุดของล้อและตำแหน่งจุดที่ยึดกับตัวรถเข็น หรือก็คือความสูงระหว่างพื้นกับใต้ท้องรถเข็นนั่นเอง
โดยสรุปแล้ว บทความการใช้งานล้อรถเข็นในงานอุตสาหกรรม หรือโรงงาน นั้นมีปัจจัยและความรู้พื้นฐานข้างต้นที่ครบถ้วน หวังหว่าผู้ที่ได้อ่านเนื้อหานี้แล้วจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานและความรู้ไม่มากก็น้อย หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสำหรับวิธีการเลือกใช้สามารถติดต่อพวกเราได้
หากท่านสนใจสินค้าประเภทล้อรถเข็นที่ครบจบในที่เดียว สามารถดูได้ที่นี่
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
No. | คำศัพท์ | คันจิ | ฮิรางานะ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
---|---|---|---|---|---|
1 | ล้อรถเข็น (Caster) | – | – | キャスタ | Kya-su-ta |