Home » Technical » Electrical » ไฟแสดงสถานะ (pilot lamp) คืออะไร

ไฟแสดงสถานะ (pilot lamp) คืออะไร

ไฟแสดงสถานะ (pilot lamp หรือ status light) คือ หลอดไฟแสดงการทำงานของเครื่องจักรในสถานะต่างๆ นิยมติดตั้งอยู่บริเวณตู้ควบคุม โดยมีหน้าที่หลักคือ บอกสถานะการทำงาน เช่น กำลังทำงานอยู่, หยุดการทำงาน, แจ้งเตือนในกรณีที่มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถแสดงสถานะอื่นๆ ได้ตามสีของหลอดไฟ ตามที่ผู้ออกแบบกำหนด

ไฟแสดงสถานะมีรูปร่างแบบไหนให้ใช้บ้าง?

ไฟสำหรับแสดงสถานะที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมมีรูปร่างดังนี้

pilot-lamp
รูปวงกลม
(round shape)
pilot-lamp
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
(square shape)
pilot-lamp
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
(rectangular shape)

 สีของไฟแสดงสถานะมีความหมายอะไร ?

 สีของ pilot lamp ใช้แสดงสถานะการทำงานของเครื่องจักร ซึ่งสีที่นิยมใช้กันมีดังนี้

pilot-lamp
ตัวอย่างการใช้งานไฟสำหรับแสดงสถานะ ที่ติดตั้งอยู้หน้าตู้ควบคุมไฟฟ้า
  1. สีแดง (red) เป็นสีที่มักจะใช้กับการแจ้งสถานะของเครื่องจักรเมื่อหยุดการทำงาน หรือไม่พร้อมสำหรับการใช้งาน
  2. สีเหลือง (yellow or amber) เป็นการแจ้งสัญญาณเตือน ตัวอย่างเช่น แจ้งเตือนให้ผู้ปฎิบัติงานทำการตรวจเช็คเครื่องจักร เมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
  3. สีเขียว (green) เป็นการแจ้งสถานะว่าเครื่องจักร กำลังทำงานอยู่
  4. สีฟ้า(blue) เป็นสีที่นิยมนำไปใช้กับตู้ไฟฟ้า 3 phase บอกสถานะการทำงานของ T ตามมาตรฐาน VDE ของประเทศเยอรมัน

**ทั้งนี้การเลือกใช้งานสีไฟของ pilot lamp ไม่ได้กำหนดเป็นมาตรฐานที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ สามารถที่จะเลือกใช้งานตามจุดประสงค์ที่ต้องการ

ไฟแสดงสถานะสีขาวทำไมถึงมี 2 แบบ ?

ในการเลือกไฟสีขาวหลายครั้งที่ผู้ซื้อมักเกิดความสับสนระหว่าง ไฟสีขาว(pure white) และไฟสีขาว(white) เรามาดูข้อแตกต่างของสีไฟทั้งสองรูปแบบกันครับ

  • รูปที่ 1 ไฟสีขาว (pure white) (ピュアホワイト) จากภาพจะเห็นได้ว่าไฟสีขาวรูปแบบนี้จะให้สีขาวชัดเจน
  • รูปที่ 2 ไฟสีขาว (white) (白) จากภาพจะเห็นเป็นสีขาวออกไปทางเหลืองอ่อนซึ่งคล้ายกับแสง warm light

pilot-lamp
รูปที่ 1 ไฟสีขาว
(pure white)
(ピュアホワイト)
pilot-lamp
รูปที่ 2 ไฟสีขาว
(white)
(白)

ประเภทของไฟแสดงสถานะ (pilot lamp)  

ไฟสำหรับแสดงสถานะ สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น แบ่งตามรูปแบบการติดตั้งหรือแบ่งตามรูปแบบการทำงาน เราจะมาดูทั้งสองรูปแบบนี้กันครับว่า มีข้อแตกต่างกันอย่าง ไร

ไฟแสดงสถานะ สามารถแบ่งตามรูปแบบการติดตั้ง

ไฟแสดงสถานะ แบบสำเร็จรูป (ประกอบมาจากโรงงาน)

ไฟแสดงสถานะประเภทนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในงานทั่วไป โดยมีคุณสมบัติตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสเปคได้  

pilot-lamp
  • ข้อดี ติดตั้งได้ง่ายและมีราคาถูก
  • ข้อเสีย หากหลอดไฟเกิดความเสียหาย การเปลี่ยนหลอดไฟอาจจะทำได้ยากหรือต้องเปลี่ยนใหม่ยกชุด

ไฟแสดงสถานะแบบแยกประกอบ (ลูกค้าสามารถเลือกชิ้นส่วนได้)

ไฟแสดงสถานะประเภทนี้ เพื่อนๆ สามารถเลือกส่วนประกอบ เช่น รูปแบบของหน้าสัมผัส, รูปร่างของ mounting, สีของหลอดไฟ, รูปทรงของไฟ ได้ตามต้องการแต่ก็มีข้อจำกัด คือ บางชิ้นไม่สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้กับทางผู้ผลิต 

pilot-lamp
  • ข้อดี หากมีชิ้นส่วนใดของอุปกรณ์เกิดความเสียหาย ผู้ใช้งานสามารถที่จะเปลี่ยนเฉพาะชิ้นส่วนนั้นได้ เช่น หลอดไฟ, หน้าสัมผัส เป็นต้น
  • ข้อเสีย หากชิ้นส่วนของอุปกรณ์บางชิ้นถูกยกเลิกการผลิต อาจจะไม่มีชิ้นส่วนทดแทน ที่สามารถประกอบเข้ากับไพลอตแลมป์ที่ท่านใช้อยู่ได้

ไฟแสดงสถานะ แบ่งตามรูปแบบการทำงาน

สามารถแบ่งออกได้ 3 รูปแบบหลัก ๆ นั้นดังนี้

ไฟแสดงสถานะได้เพียงอย่างเดียว 

pilot-lampไพลอตแลมป์รูปแบบนี้ จะเป็นแค่ไฟแสดงสถานะซึ่งถูกแสดงผลด้วยหลอดไฟที่ติดตั้งอยู่ภายใน ไม่สามารถกดปุ่มหรือส่งเสียงสัญญาณเตือนออกมาเมื่อเกิดความผิดปกติ ส่วนมากนิยมนำไปใช้ในการแสดงสถานะอุปกรณ์ต่าง ๆ บนตู้คอนโทรล เช่น แสดงสถานะการทำงานของปั้มลมพร้อมใช้งานหรือไม่พร้อมใช้งาน

ไฟแสดงสถานะ+เสียงแจ้งเตือน (Buzzer)

pilot-lampไพลอตแลมป์รูปแบบนี้นิยมใช้ในการแจ้งเตือนความผิดปกติและระบบฉุกเฉิน นอกจากจะมีไฟแสดงสถานะแล้วยังมีฟังก์ชั่นเสียงเตือนเพิ่มเข้ามาอีกด้วย ข้อสังเกตในการแยกประเภท ระหว่างไพลอตแลมป์รูปแบบธรรมดาและรูปแบบที่มีเสียงเตือน คือ สามารถดูได้จากสัญลักษณ์รูปลำโพงที่อยู่บนหน้าปัด

ไฟแสดงสถานะ+สวิตช์ปุ่มกด

pilot-lampไพลอตแลมป์รูปแบบนี้ถูกออกแบบให้มีทั้งไฟสำหรับแสดงสถานะ และปุ่มที่สามารถกดได้ เพื่อเปิดและปิดการทำงาน ซึ่งเหมาะสำหรับงานที่ต้องการแสดงสถานะและควบคุมการทำงานไปพร้อมกัน ข้อควรระวังสำหรับการใช้ไพลอตแลมป์ชนิดนี้คือ ต้องไม่ลืมที่จะตรวจสอบกำลังไฟที่ใช้สำหรับหลอดไฟ ซึ่งมักจะแยกออกจากไฟของหน้าสัมผัส
ตัวอย่างการดูกระแสไฟฟ้าที่ใช้ไฟสำหรับแสดงสถานะ+สวิตช์ปุ่มกด
pilot-lamp
ตัวอย่างตารางแสดง specification ของไฟแสดงสถานะ + สวิตช์ปุ่มกด

จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความแนะนำอุปกรณ์ไฟสำหรับแสดงสถานะ ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับนักออกแบบมือใหม่ และผู้ไม่เคยใช้งานไฟชนิดนี้ ให้เห็นถึงรูปแบบ, ชนิดและจุดประสงค์การใช้งานที่กว้างมากขึ้น รวมไปถึงข้อควรระวังต่างๆ หากสนใจดูสินค้าชนิดนี้เพิ่มเติมสามารถคลิกได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ พบกันใหม่กับบทความที่น่าสนใจในสัปดาห์หน้า สวัสดีครับ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคาตาคานะคำอ่าน
1ไฟสำหรับแสดงสถานะパイロットランプPa-i-rot-to-ran-pu

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 5

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า Pilot lamp เพิ่มเติมได้ที่นี่
No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง