Home » Technical » Proximity Sensors NPN และ PNP ต่างกันอย่างไร

Proximity Sensors NPN และ PNP ต่างกันอย่างไร

ในการออกแบบระบบเครื่องจักรในงานอุตสาหกรรม “เซนเซอร์” ถือเป็นหัวใจสำคัญในการรับรู้และตรวจสอบสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในกระบวนการทำงานของเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิ การตรวจจับวัตถุ หรือแม้กระทั่งการตรวจสอบตำแหน่งของชิ้นงาน เพื่อให้ระบบสามารถตัดสินใจและควบคุมได้อย่างแม่นยำ หนึ่งในเซนเซอร์ที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายก็คือ Proximity Sensor หรือเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุแบบไม่ต้องมีการสัมผัสกับตัวชิ้นงาน ซึ่งมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบ NPN และ PNP แต่เพื่อนๆ หลายคนก็คงจะสงสัยกันใช่ไหมครับว่า “ควรเลือกใช้แบบไหนดี?” เพราะถึงแม้จะดูคล้ายกันจากภายนอก แต่ภายในกลับมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในบทความนี้ เราจะพาเพื่อนๆ ไปเจาะลึกถึงความแตกต่างระหว่าง Proximity Sensor แบบ NPN และ PNP ในแง่ของการทำงาน เพื่อให้เพื่อนสามารถเลือกใช้งานได้ตรงตามความต้องการ

catalogue สินค้า OMRON proximity sensor

ทำความรู้จักกับสายไฟแต่ละสี ของ proximity sensor  ชนิด 3 สาย

proximity sensor แบบ 3 สาย ทั้งชนิด NPN และ PNP ต่างก็ใช้สีของสายไฟแบบเดียวกัน ซึ่งโดยทั่วไปก็จะใช้ สีน้ำตาล, สีดำ และสีฟ้า เรามาดูกันครับว่า สายไฟแต่ละสี มีความสำคัญในการต่อใช้งานอย่างไร

proximity sensor แบบ 3 สาย
  • สายสีน้ำตาล (Brown)  ในบางครั้งอาจใช้ต้วย่อ BN จะต่อกับไฟเลี้ยงบวกให้กับตัวเซนเซอร์
  • สายสีดำ (Black)  ในบางครั้งอาจใช้ต้วย่อ BK เป็นสายที่ส่งสัญญาณ เอาต์พุต ออกมาเมื่อเซนเซอร์ทำงาน 
  • สายสีฟ้า (Black)  ในบางครั้งอาจใช้ต้วย่อ BL จะต่อกับกราวด์ (GND)

ตัวอย่างการต่อใช้งานของ Proximity Sensor แบบ PNP และ NPN

เรามาดูวิธีการต่อสายไฟสำหรับใช้งาน Proximity Sensor แบบ PNP และ NPN กันครับว่าแต่ละแบบนั้น มีรูปแบบการต่อที่แตกต่างกันอย่างไร 

Proximity Sensor แบบ PNP (Source Type)

Proximity Sensor แบบ PNP (Source Type)

จากภาพจะเห็นได้ว่าสายไฟสีน้ำตาลจะต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟ เพื่อให้มีไฟเลี้ยงเข้ากับตัวเซนเซอร์ ในส่วนของสายไฟสีฟ้าจะต่อเข้ากับกราวด์ 

ในส่วนของการต่อใช้งานเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า(Load เช่น รีเลย์) เราจะต่อเข้ากราวด์ 1 ขา และหลังจากนั้นจะต่อสายไฟสีดำที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณ output ที่เป็นไฟบวก จากตัวเซนเซอร์มายังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้

Proximity Sensor แบบ NPN (Sink Type)

Proximity Sensor แบบ NPN (Sink Type)

จากภาพจะเห็นได้ว่าสายไฟสีน้ำตาลจะต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟ เพื่อให้มีไฟเลี้ยงเข้ากับตัวเซนเซอร์ ในส่วนของสายไฟสีฟ้าจะต่อเข้ากับกราวด์

ในส่วนของการต่อใช้งานเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า(Load เช่น รีเลย์) เราจะต่อเข้ากับตัวแหล่งจ่ายไฟ และหลังจากนั้นจะต่อสายไฟสีดำที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณ output ที่เป็นไฟลบ จากตัวเซนเซอร์มายังโหลดที่ติดตั้งไว้

ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้งาน Proximity Sensor NPN หรื PNP

  1. ความเข้ากันได้ของอุปกรณ์
    • ถ้าใช้ PLC ที่รับสัญญาณเป็น “แรงดันบวก” หรือ Active High ให้ใช้ PNP
    • ถ้าใช้ PLC ที่รับสัญญาณเป็น “แรงดันลบ” หรือ Active Low ให้ ใช้ NPN
  2. ความสะดวกในการเดินสาย
    • ระบบที่มี GND เป็นกราวด์ร่วมกันอยู่แล้ว มักสะดวกต่อการใช้ NPN
    • ระบบที่ต้องการป้องกันสัญญาณรบกวน ควรใช้ PNP เพราะกระแสไหลจาก +V มีแนวโน้มเสถียรกว่า
  3. ความปลอดภัย
    • PNP ปลอดภัยกว่าในกรณีที่เกิดการลัดวงจร เพราะไฟจะไม่ไหลย้อนเข้าคอนโทรลเลอร์โดยตรง
    • NPN หากเดินสายผิดหรือเกิดความชื้น อาจทำให้กระแสลัดวงจรลงกราวด์ได้ง่ายกว่า

ข้อควรระวังในการเลือก Proximity Sensor แบบ PNP และ NPN

แม้ว่า Proximity Sensor จะมีให้เลือกทั้งแบบ PNP และ NPN ซึ่งต่างกันในแง่ของ รูปแบบการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า (Wiring Logic) และ การไหลของกระแสไฟฟ้า (Sourcing / Sinking) แต่หลายคนมักเข้าใจผิดว่าการเลือก PNP หรือ NPN จะกำหนดว่าเซนเซอร์จะเป็นแบบ Normally Open (N/O) หรือ Normally Closed (N/C) ซึ่ง ความจริงแล้วไม่เกี่ยวข้องกันเลยครับ

  • NO (Normally Open) หมายถึง ในสถานะปกติ (ยังไม่ตรวจจับวัตถุ) เซนเซอร์จะไม่จ่ายสัญญาณออก (output = OFF) และจะจ่ายสัญญาณ (output = ON) เมื่อมีวัตถุเข้าใกล้
  • NC (Normally Closed) หมายถึง ในสถานะปกติ เซนเซอร์จะจ่ายสัญญาณออกอยู่ตลอดเวลา และจะหยุดจ่ายเมื่อมีวัตถุเข้าใกล้
ข้อควรระวังในการเลือก Proximity Sensor แบบ PNP และ NPN

จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความ “Proximity Sensors NPN และ PNP ต่างกันอย่างไร” หวังว่าจะช่วยให้เพื่อน ๆ เข้าใจความแตกต่างระหว่างเซนเซอร์แบบ NPN และ PNP ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของหลักการทำงาน การต่อสายใช้งาน หรือข้อควรระวังในการเลือกใช้งานกับระบบควบคุมต่าง ๆ สุดท้ายนี้ หากเพื่อนๆ กำลังมองหา OMRON Proximity Sensor คุณภาพสูง มาตรฐานญี่ปุ่น ที่เชื่อถือได้และมีให้เลือกครบทั้งแบบ NPN และ PNP สามารถเลือกสินค้าได้จากที่นี่

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 0 / 5. คะแนนโหวต: 0

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Content

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Proximity sensor) เพิ่มเติมได้ที่นี่
Related Content

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง