Home » Technical » รู้จักกับ Solid State Relay (SSR)

รู้จักกับ Solid State Relay (SSR)

Solid State Relay (SSR) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในงานอุตสาหกรรมและระบบควบคุมอัตโนมัติ แล้วคุณเคยสงสัยไหมครับว่าเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถสวิตช์วงจรได้อย่างรวดเร็วและเงียบสนิทได้อย่างไร โดยบทความนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับ Solid State Relay ว่าคืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร และแตกต่างจาก Relay ทั่วไปอย่างไร พร้อมทั้งอธิบายโครงสร้างภายในและข้อดีข้อเสียแบบเข้าใจง่าย อ่านจบแล้วรับรองว่าคุณจะเข้าใจว่า Solid State Relay นั้นมีบทบาทสำคัญอย่างไร ในการควบคุมเครื่องจักรในระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติ

Solid State Relay คืออะไร

Solid State Relay (SSR) คือรีเลย์ชนิดหนึ่งที่ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์แทนหน้าสัมผัสแบบกลไกในการตัดต่อวงจรไฟฟ้า เมื่อได้รับสัญญาณควบคุม (Input) จะไปกระตุ้นชิ้นส่วนสารกึ่งตัวนำ ให้สามารถเปิดหรือปิดวงจรหลัก (Output) ได้ SSR ไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหว ทำให้มีความเร็วในการสวิตช์สูงกว่าการใช้หน้าสัมผัสโลหะ จึงช่วยลดการสึกหรอและยืดอายุการใช้งาน

โครงสร้างของ Solid State Relay

โครงสร้างของ SSR ตามภาพสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่:

โครงสร้างของ Solid State Relay
  1. Input Circuits (วงจรอินพุต) เป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับขั้วอินพุตของ SSR ทำหน้าที่รับสัญญาณควบคุมจากอุปกรณ์ภายนอก เช่น ไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ PLC และทำหน้าที่ปรับแรงดันไฟฟ้าและกระแสให้เหมาะสมกับการกระตุ้น SSR
  2. Electrical Isolation ใช้ Optocoupler หรือ Transformers เพื่อแยกวงจรควบคุม (อินพุต) ออกจากวงจรขับโหลด (เอาต์พุต) ช่วยป้องกันการรบกวนและแรงดันไฟฟ้าสูงจากด้านโหลดย้อนกลับมายังด้านควบคุม
  3. Drive Circuit (วงจรขับ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่ได้รับจากวงจรอินพุต และควบคุมการทำงานของเอาต์พุต
  4. Output Circuits (วงจรเอาต์พุต) ใช้เป็นสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับเปิด-ปิดวงจรโหลดที่เชื่อมต่อกับขั้วเอาต์พุตเพื่อควบคุมโหลด เช่น หลอดไฟ, ฮีตเตอร์ หรือมอเตอร์

Solid State Relay ต่างจาก Relay ปกติอย่างไร

Solid State Relay ต่างจาก Mechanical Relay ในหลายด้านทั้งในส่วนของโครงสร้างภายใน ตัว Mechanical relays จะใช้ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าในการดึงหน้าสัมผัส ให้เกิดการทำงานเกิดขึ้น แต่ใน SSR นั้นใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์แทนขดลวดและหน้าสัมผัสทางกล ซึ่งด้วยระบบการทำงานแบบนี้ส่งผลให้ SSR สามารถทำงานได้รวดเร็วกว่า รวมไปถึงมีอายุการใช้งานที่นานกว่าด้วยเช่นกัน เพราะไม่มีการเสียดสีของหน้าสัมผัสเมื่อเทียบกับ Mechanical Relay อีกจุดแตกต่างที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ เรื่องเสียงรบกวน จะเห็นได้ว่าเมื่อ Mechanical Relay ทำงานจะมีเสียง “คลิก” เกิดขึ้นเสมอ

Mechanical relaySSR (Solid State Relay)
ลักษณะภายนอกMechanical relaySSR (Solid State Relay)
รูปแบบของวงจรการทำงานMechanical relaySSR (Solid State Relay)
Mechanical relaysSSR (Solid State Relay)
กลไกการทำงานปกติใช้ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าในการดึงหน้าสัมผัสใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์แทนขดลวดและหน้าสัมผัสทางกล
ความเร็วในการสวิตช์ปกติมีการเคลื่อนที่ของหน้าสัมผัส ทำให้เร็วได้น้อยกว่าสวิตช์ได้รวดเร็วกว่ามาก
อายุการใช้งานปกติอายุการใช้งานสั้นลงจากการสึกหรอของผิวสัมผัสทนทาน เพราะไม่มีการเสียดสีของหน้าสัมผัส
เสียงรบกวนปกติมีเสียง “คลิก” ขณะหน้าสัมผัสทำงานทำงานเงียบ

ประเภทของ Solid State Relay (SSR)

Solid State Relay หากแบ่งตามโครงสร้างและลักษณะการใช้งาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ 

1. SSRs ที่มีฮีตซิงก์ในตัว รองรับกระแสโหลดสูงสุด 150A และมาพร้อมกับฮีตซิงก์ในตัว ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีโดยไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์เสริม เหมาะสำหรับการติดตั้งในแผงควบคุมที่มีพื้นที่จำกัดและต้องการความสะดวกในการติดตั้ง ใช้กันมากในระบบทำความร้อนและการควบคุมมอเตอร์อุตสาหกรรม

SSRs ที่มีฮีตซิงก์ในตัว

2.SSRs ที่ใช้ฮีตซิงก์แยกต่างหาก รองรับกระแสไฟฟ้าโหลดสูงสุด 90A โดยไม่มีฮีตซิงก์ติดตั้งในตัว ทำให้สามารถเลือกใช้ฮีตซิงก์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการใช้งานได้เอง รีเลย์ประเภทนี้มักติดตั้งภายในเครื่องจักรที่มีข้อจำกัดด้านขนาดและต้องการการระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้กันในระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องจักรที่ต้องทำงานต่อเนื่องและต้องการการควบคุมที่แม่นยำ ตัวอย่างของรุ่นที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่

Solid State/Relay G3NA
Solid State / Relay G3NE

3.รีเลย์ที่มีรูปทรงเดียวกับรีเลย์ทั่วไป สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าโหลดได้สูงสุด 3A โดยออกแบบให้มีขนาดและรูปทรงเหมือนรีเลย์กลไกแบบปลั๊กอินทั่วไป สามารถใช้กับซ็อกเก็ตเดิมได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างการติดตั้ง SSRs ประเภทนี้มักใช้ในระบบ I/O ของ Programmable Logic Controller (PLC) และงานควบคุมอัตโนมัติในโรงงาน เนื่องจากมีการสวิตช์ที่รวดเร็วและไม่เกิดประกายไฟ ทำให้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความปลอดภัยสูง รุ่นที่พบได้บ่อย ได้แก่

Power MOS FET Relay G3RZ
I/O Solid State Relay, G3TA

จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความ “รู้จักกับ Solid State Relay (SSR)” ที่พาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับองค์ประกอบสำคัญของ SSR, เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างรีเลย์แบบขดลวดไฟฟ้าและ SSR รวมถึงจุดเด่นที่ทำให้มันเหนือกว่า ทั้ง การทำงานที่เงียบ รวดเร็ว และทนทาน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับระบบอัตโนมัติและงานที่ต้องการสวิตช์เร็วหรือใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน หากต้องการเลือกซื้อ Solid State Relay คุณภาพสูง ขอแนะนำ OMRON Solid State Relay

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 1

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Content

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า Solid State Relay (SSR) เพิ่มเติมได้ที่นี่
No data was found

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง