Home » Technical » Tools » การเลือกและใช้งาน เกจวัดความดัน ในงานวิศวกรรม

การเลือกและใช้งาน เกจวัดความดัน ในงานวิศวกรรม

เกจวัดความดัน หรือ เกจวัดแรงดัน เป็นเครื่องมือวัดที่ขาดไม่ได้เลยไม่ว่าจะเป็นในระบบเครื่องจักร หรือระบบท่อ ตัวของเกจวัดความดันมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานมากมาย ในบทความนี้เรามาดูกันครับว่า เกจวัดแต่ละชนิดเหมาะกับงานอะไร และเราจะมีวิธีการเลือกเกจวัดความดันอย่างไร ทั้งหมดนี้หาคำตอบได้ในบทความนี้

เกจวัดความดัน (Pressure Gauge) คืออะไร

เกจวัดความดัน (Pressure Gauge) เป็นเครื่องมือวัดและตรวจสอบแรงดันที่ขาดไม่ได้เลยในงานวิศวกรรมต่างๆ โดยสามารถวัดและตรวจสอบแรงดันของของเหลวหรือก๊าซภายในระบบ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรับประกันคุณภาพและความปลอดภัยในการทำงานของระบบต่างๆ ในอุตสาหกรรม

เกจวัดความดัน
เกจวัดความดัน

ส่วนประกอบพื้นฐานของ เกจวัดความดัน (Pressure Gauge)

เรามาดูส่วนประกอบสำคัญของเกจวัดความดันแบบชนิดหน้าปัด กันครับว่ามีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของเกจวัดความดัน
ส่วนประกอบของเกจวัดความดัน
  1. หน้าปัด จะประกอบกระจก ทำหน้าที่ครอบปิดตัวเรือนของเกจวัดความดัน มีหลายขนาดให้เลือกใช้งานโดยขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการติดตั้ง ตัวอย่างเช่น 50mm., 63 mm., 100 mm. เป็นต้น
  2. ตัวเรือน ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ภายในต่างๆ มีวัสดุให้เลือกใช้งานมากมาย เช่น ทองเหลือง สแตนเลส เป็นต้น
  3. เข็ม ทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้ค่าแรงดันที่เกจวัดสามารถอ่านได้ โดยตัวเลขที่เข็มชี้นั้น คือ แรงดันที่สามารถอ่านค่าได้ ณ เวลานั้นๆ
  4. ขนาดของข้อต่อ เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อเกจวัดความดัน เข้ากับข้อฟิตติ้ง เพื่อทำการวัดแรงดันในบริเวณนั้นๆ มีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน เช่น 1/4“ หรือ 2 หุน , 1/2“ หรือ 4 หุน เป็นต้น
  5. ตำแหน่งของข้อต่อ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีผลต่อการติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ
  6. ช่วงของการวัด เป็นค่าสเกลตัวเลขที่เกจวัดความดัน สามารถอ่านค่าได้ โดยเพื่อนๆ สามารถพบเห็นได้ด้วยกัน 3 แบบ คือ แบบ Normal, แบบ Vacuum และ แบบ Compound (ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดในหัวข้อถัดไป๗
  7. หน่วยวัด เป็นหน่วยของแรงดันที่สามารถอ่านค่าได้ โดยในเกจวัดความดันแต่ละแบบก็จะมีหน่วยวัดให้เลือกใช้งานที่หลากหลาย เช่น bar, psi, MPa
  8. น้ำมัน เกจวัดความดันบางชนิดจะมีน้ำมันกลีเซอรีน อยู่ภายในของหน้าปัดของเกจวัด ทำหน้าที่ช่วยลดการสั่นของเข็มและช่วยลดแรงกระชากของแรงดัน ในกรณีที่ระบบเกิดการเปลี่ยนแปลงความดันแบบฉับพลัน

เกจวัดความดัน (Pressure Gauge) มีกี่ชนิด

เกจวัดความดัน (Pressure Gauge) สามารถแบ่งออกได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่ว่าเราจะแบ่งตามความสำคัญของอะไร เช่น แบ่งตามย่านในการวัดความดัน, แบ่งตามรูปแบบการแสดงผล, เป็นต้น โดยในบทความนี้เรามีตัวอย่างการแบ่งชนิดของเกจวัดความดันมาให้ดูกันครับ  

เกจวัดความดัน (Pressure Gauge) แบ่งตามย่านในการวัด จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

เกจวัดความดันบรรยากาศ (Pressure Gauge)

เกจวัดความดันบรรยากาศ
เกจวัดความดันบรรยากาศ

1.เกจวัดความดันบรรยากาศ (Pressure Gauge) เป็นเกจวัดความดันที่พบเห็นกันได้ทั่วไป สเกลของเกจวัดจะเห็นได้ว่า จะเริ่มตั้งแต่ค่า 0 เป็นต้นไป มีค่าช่วงในการวัดให้เลือกใช้งานมากมาย ตั้งแต่ 0 – 0.5 MPa , 0 – 1 MPa

ตัวอย่างการใช้งาน : ใช้สำหรับวัดแรงดันของไหลทั่วไป เช่น แรงดันน้ำในระบบท่อส่งน้ำ เป็นต้น

เกจวัดความดันสุญญากาศ (Vacuum Gauge)

เกจวัดความดันสุญญากาศ
เกจวัดความดันสุญญากาศ

2.เกจวัดความดันสุญญากาศ (Vacuum Gauge) เป็นเกจวัดความดันที่ใช้สำหรับวัดความดันในสภาวะสุญญากาศ จะเห็นได้สเกลของเกจวัด จะเป็นค่าติดลบและสเกลค่ามากที่สุด จะเป็นค่า 0 ตัวอย่างเช่น -0.1 ถึง 0 MPa , 0 – 1 MPa

ตัวอย่างการใช้งาน : ใช้กับปั๊มสุญญากาศที่ในทางการแพทย์,  ใช้ในการวัดแรงดันสุญญากาศในกระบวนการผลิต เช่น แรงดันสุญญากาศที่ใช้ในกระบวนการอบแห้ง และกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

เกจวัดความดันแบบคอมปาวด์ หรือ คอมปาวเกจ์ (Compound Gauge)

เกจวัดความดันแบบคอมปาวด์
เกจวัดความดันแบบคอมปาวด์

3.เกจวัดความดันแบบคอมปาวน์ (Compound Gauge) เป็นเกจวัดความดันที่วัดได้ทั้งแรงดันในสภาวะปกติ และแรงดันในสภาวะสุญญากาศ จะเห็นได้สเกลของเกจวัด จะมีทั้งค่าติดลบและค่าติดบวก ในหน้าปัดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น -0.1 ถึง 0.4 MPa ดังรูป

ตัวอย่างการใช้งาน : ใช้กับเครื่องอัดแรงดันอากาศ (Air compressor)
โดยด้านบวกของเกจ จะวัดแรงดันของอากาศอัด และด้านลบ จะวัดแรงดันสุญญากาศในถังเก็บลม, ใช้ในการวัดแรงดันในระบบทำความเย็น เช่น แรงดันของสารทำความเย็น

8 ขั้นตอนการเลือกเกจวัดความดันให้เหมาะสมกับงาน

8 ขั้นตอนการเลือกเกจวัดความดันให้เหมาะสมกับงาน
  1. พิจารณาชนิดของของไหลที่จะนำเกจวัดความดันไปใช้งาน เช่น อากาศ, น้ำ เป็นต้น
  2. ช่วงความดันที่ใช้งาน : โดยพิจารณาแรงดันต่ำสุดและสูงสุดของระบบเครื่องจักรที่ใช้งาน
  3. หน่วยที่ใช้วัด : หน่วยของความดันมีหลายหน่วยให้เลือกใช้งานมากมาย ตัวอย่างเช่น Kg/㎡, psi., bar, MPa เป็นต้น
  4. เลือกประเภทของเกจวัดความดัน : เช่น เกจวัดความดันบรรยากาศ, เกจวัดความดันสุญญากาศ หรือ เกจวัดแรงดันแบบคอมปาวด์
  5. ขนาดของหน้าปัด : ถือเป็นอีกข้อควรพิจารณาเช่นกัน เพราะในบางครั้งขนาดใหญ่เกินไปก็ไม่สามารถติดตั้งในพื้นที่ที่จำกัดได้
  6. ขนาดและตำแหน่งของข้อต่อ : มีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน เช่น 1/4“ หรือ 2 หุน , 1/2“ หรือ 4 หุน และอื่นๆ ในส่วนของตำแหน่งข้อต่อนั้นมีให้เลือกด้วยกัน หลายแบบ อาทิ แบบข้อต่อออกทางด้านล่าง, แบบข้อต่อออกทางด้านหลัง เป็นต้น
  7. วัสดุ : วัสดุของตัวเรือนมีส่วนสำคัญสำหรับเกจวัดความดัน โดยให้พิจารณาจากสภาพแวดล้อมในการใช้งาน ตัวอย่างวัสดุตัวเรือนที่ใช้ผลิตเกจวัดแรงดันได้แก่ ทองเหลือง, สแตนเลส, และพลาสติก         
  8. คุณลักษณะเพิ่มเติม: พิจารณาคุณสมบัติเพิ่มเติมอื่นๆ ที่เพื่อนๆ อาจต้องการ เช่น สามารถเติมน้ำมันกลีเซอรีน เพื่อลดการสั่นของเข็มและช่วยลดแรงกระชากของแรงดัน ในกรณีที่ระบบเกิดการเปลี่ยนแปลงความดันแบบฉับพลัน

จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความ “การเลือกและใช้งาน เกจวัดความดัน ในงานวิศวกรรม” เพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้ไม่มากก็น้อยจากบทความนี้ ทั้งเกจวัดความดันชนิดต่างๆ รวมไปถึงวิธีการเลือกเกจวัดความดันเบื้องต้นอีกด้วย แล้วพบกับบทความที่น่าสนใจในสัปดาห์หน้า สวัสดีครับ

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4 / 5. คะแนนโหวต: 4

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Technical Center Team

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า เกจวัดความดัน เพิ่มเติมได้ที่นี่
No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง