ไขข้อสงสัย! เม็ดมีด positive กับ negative ต่างกันอย่างไร
สารบัญ
จากบทความที่แล้ว เพื่อนๆ ได้ทราบถึงความแตกต่างทางด้านรูปร่างของ เม็ดมีดกลึงที่ใช้งานได้ 2 ด้าน (positive insert) และแบบที่ใช้งานได้ด้านเดียว (negative insert) กันไปแล้วใช่ไหมครับ ในบทความนี้เราจะไปเจาะลึกการใช้งานของเม็ดมีดทั้งสองรูปแบบนี้กันครับ ว่าแตกต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้
เม็ดมีด positive กับ negative ต่างกันอย่างไร ?
เมื่อเพื่อนๆ อ่านมาถึงจุดนี้อาจจะคิดว่า เราเลือกใช้งานเม็ดมีดแบบ negative ไปเลยดีไหม ? สามารถใช้งานได้ถึง 2 ด้าน โดยไม่จำเป็นต้องซื้อเม็ดมีดแบบ positive มาถึง 2 ชิ้น เพื่อนๆ กำลังคิดผิดนะครับ จริงๆ แล้วข้อแตกต่างของการใช้งานเม็ดมีดสองชนิดนี้ขึ้นอยู่กับ รูปแบบของการกลึง โดยเราจะยกตัวอย่างรูปแบบการกลึงที่นิยมใช้ในการผลิต มาอธิบายกัน โดยมีดังนี้
การใช้เม็ดมีด สำหรับการกลึงปลอก
การกลึงปลอก คือ กระบวนการตัดเฉือนเพื่อลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกให้มีขนาดเล็กลง การเลือกชนิดของเม็ดมีดมีส่วนทำให้ผิวชิ้นงานที่ได้นั้นแตกต่างกันออกไป โดยมีข้อแนะนำดังนี้
ในการกลึงปลอกชิ้นงานขนาดใหญ่ ควรจะใช้มีดกลึงแบบ negative เพราะคมตัดมีความแข็งแรงมากกว่าแบบ positive แต่ในทางกลับกัน หากเราใช้มีดกลึงแบบ negative กลึงปลอกชิ้นงานขนาดเล็ก จะทำให้เกิดแรงต้านที่มากขึ้นจากเม็ดมีด ซึ่งส่งผลให้ชิ้นงานที่กำลังกลึงอยู่อาจจะได้ผิวที่ไม่เรียบเท่าที่ควรเนื่องจากการสะท้าน ดังนั้นในกระบวนการกลึงปลอกชิ้นงานขนาดเล็ก ควรใช้กับมีดกลึงแบบ positive จะเหมาะสมมากกว่า
ทำไม? ไม่ควรใช้ เม็ดมีด แบบ negative กลึงปลอกชิ้นงาน
เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมแรงต้านที่เกิดขึ้นจาก เม็ดมีดกลึงแบบ negative ถึงมีมากกว่าแรงต้านของเม็ดกลึงแบบ positive เมื่อนำใช้ในการกลึงปลอกชิ้นงานขนาดเล็ก เรามาดูกันครับ
จากภาพจะเห็นได้ว่า เม็ดมีดแบบ negative นั้น บริเณส่วนของคมตัดมีเนื้อสัมผัสของเม็ดมีดที่มากกว่าเม็ดมีดแบบ positive เป็นผลให้เกิดแรงต้านระหว่างเม็ดมีดกับวัตถุที่มากขึ้น จึงส่งผลให้วัตถุเกิดการสั่นสะเทือนในขณะที่กำลังหมุนด้วยความเร็วสูงนั้นเอง
การใช้ เม็ดมีด สำหรับการกลึงคว้าน
การกลึงแบบคว้าน คือ กระบวนการตัดเฉือนเพื่อเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในให้มีขนาดใหญ่ขึ้น การเลือกชนิดของเม็ดมีด มีส่วนทำให้ผิวชิ้นงานที่ได้นั้นแตกต่างกันออกไป โดยมีข้อแนะนำดังนี้
เม็ดมีดแบบ negative ไม่เหมาะกับการกลึงคว้านชิ้นงานที่มีรูขนาดเล็ก เพราะว่าคมกัดที่อยู่อีกด้านหนึ่ง มีโอกาสที่จะสัมผัสกับผิวด้านในของชิ้นงาน ทำให้เม็ดมีดเกิดการแตกหักได้ ดังนั้น ในการกลึงชิ้นงานเพื่อขยายขนาดของรูด้วยมีดกลึงแบบ negative ขนาดของรูภายในต้องมีขนาดใหญ่กว่า 20 mm. ขึ้นไปถึงจะสามารถใช้งานได้
สำหรับการกลึงคว้านนั้น เม็ดมีดแบบ positive จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะกว่า เนื่องจากรูปร่างของเม็ดมีดถูกออกแบบให้มีมุมหลบที่ไม่สัมผัสกับผิวของชิ้นงานในขณะที่กำลังคว้านผิวด้านใน
จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความเกี่ยวกับ ข้อแตกต่างระหว่าง positive insert และ negative insert กันไปแล้วใช่ไหมครับ เพื่อนๆ คงจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อยจากบทความนี้ หากเพื่อนๆ ถูกใจบทความนี้หรือมีคำติชมใดๆ สามารถให้กำลังใจทีมงานผู้จัดทำเว็บไซต์ได้ที่ช่องคอมเมนต์ด้านล่าง หรือสนใจสินค้าคุณภาพสูงจากทางบริษัท OSG สามารถเลือกดูสินค้าเพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้เลยครับ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
คำศัพท์ | คันจิ | ฮิราคานะ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
---|---|---|---|---|
เม็ดมีด (insert) | – | – | インサート | In-sā-to |
ข้อมูลอ้างอิง