เจาะลึก! ข้อมูลอุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียงเตือน จาก PATLITE
สารบัญ
เพื่อน ๆ หลายคนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมคงจะมีโอกาส ได้ยินสัญญาณเสียงเตือนแบบต่าง ๆ จากลำโพงใช่ไหมครับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงสัญญาณไฟไหม้, เสียงเรียกรวมพล หรือว่าเสียงกริ่งพักเที่ยง โดยมีข้อควรพิจารณาก่อนการเลือกใช้อุปกรณ์เหล่านี้ ได้แก่ ตามสภาพแวดล้อมการทำงาน พื้นที่การในการติดตั้ง เป็นต้น เรามาดูกันครับว่า BSV Voice Annunciator จาก PATLITE แต่ละรุ่นมีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วมีความสะดวกสบายในการใช้งานมากน้อยเพียงใด หาคำตอบได้ในบทความนี้ครับ
อุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียงเตือน ประเภทต่าง ๆ
อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือน (Voice alarm) ของทาง PATLITE ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
1.สัญญาณเสียงเตือน แบบเสียงแตร (Signal Horn)
จะมีเสียงโทนเดียวโดยสามารถเลือกใช้งานได้ด้วยกัน 2 รูป แบบคือ แบบเสียงสั้นและแบบเสียงยาว นิยมใช้ติดตั้งอยู่บริเวณเครื่องจักร เช่น หน้าตู้คอนโทรลเมื่อมีการเปิดหรือปิดไม่สนิท เพื่อน ๆ สามารถทดลองฟังตัวอย่างเสียงของอุปกรณ์ได้ที่ด่านล่างนี้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
2.สัญญาณเสียงเตือน แบบเมโลดี้ (Melody Alarm)
เสียงที่ออกมาจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีลักษณะ เป็นเสียงที่มีการไล่ระดับเสียงของตัวโน้ตดนตรี ตัวอย่างการใช้งานเช่น เป็นสัญญาณเตือนสำหรับการทำงานของเครื่องจักร, สัญญาณบอกเวลาพักเที่ยงของพนักงาน เป็นต้น สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
3.สัญญาณเสียงเตือน แบบสร้างขึ้นมาเอง (Voice synthesizer)
Voice Annunciator รูปแบบนี้ นอกจากจะมีไฟล์เสียงที่ถูกติดตั้งมาให้แล้ว (สามารถทดลองฟังเสียงได้ที่นี่) เพื่อนๆ ยังสามารถสร้างเสียงที่มีความเฉพาะเจาะจงในการใช้งานได้อีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดความชัดเจนในการสื่อสารได้มากยิ่งขึ้น โดยในบทความนี้เราจะมาแนะนำการสร้างไฟล์เสียงเพื่อนำไปใช้งานกับ BSV Voice Annunciator กันครับ
วิธีการสร้างไฟล์เสียง สำหรับใช้งานบนอุปกรณ์ BSV Voice Annunciator
การสร้างไฟล์เสียงสำหรับใช้งานบนอุปกรณ์ BSV สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้
1.การสร้างไฟล์เสียงบนโทรศัพท์
ในการสร้างไฟล์เสียงบนโทรศัพท์นั้น เพื่อน ๆ สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
- ดาวน์โหลด Application AVR X ลงบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อน ๆ สามารถดู Icon ของโปรแกรมได้ทางด้านซ้ายมือของวีดีโอ
- ระบบ IOS ให้ค้นหาด้วยคำว่า”AVR X”
- ระบบ Android ให้ค้นหาด้วยคำว่า “เครื่องบันทึกเสียง”
- ทำการเปิด Application “AVR X”
- มองหาสัญลักษณ์รูปเฟืองทางมุมขวามือด้านล่าง
- คลิกหนึ่งครั้ง
- เลือกตั้งค่า File format ให้เป็น MP3 และ Bit rate ให้เป็น 64 Kbps
- กดปุ่มสีแดง (●)เพื่อทำการบันทึกเสียง
- เมื่อบันทึกเสร็จแล้วให้กดปุ่มสี่เหลี่ยม (■) เพื่อหยุดการบันทึก
- หลังจากนั้นกดโฟลเดอร์ default ทางมุมซ้ายมือด้านล่าง โปรแกรมจะแสดงที่อยู่ของไฟล์เสียงที่บันทึกไว้
- กดไปที่สัญลักษณ์ที่อยู่ทางขวาของไฟล์เสียงที่ต้องการ หลังจากนั้นเลือก Share
- ผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะส่งไฟล์เสียงไปทางคอมพิวเตอร์ โดยผ่านช่องต่าง ๆ ตามที่โปรแกรมระบุไว้ เช่น E-mail , Line เป็นต้น
หมายเหตุ
- Voice Annunciator รุ่น BSV และ BSV-L มีข้อแตกต่างกันดังนี้
- BSV สามารถรองรับเสียงที่เกิดจากการบันทึกไฟล์ได้นานสูงสุด 63 วินาที
- BSV-L สามารถรองรับเสียงที่เกิดจากการบันทึกไฟล์ได้นานสูงสุด 520 วินาที
- เพื่อน ๆ สามารถใช้โปรแกรมอื่น ๆ บันทึกเสียงได้เช่นกัน แต่โปรแกรมของเพื่อน ๆ นั้นต้องสามารถที่จะปรับ Bit rate ให้เป็น 64 Kbps ได้
2.การสร้างไฟล์เสียงบนคอมพิวเตอร์
ในการสร้างไฟล์เสียงบนคอมพิวเตอร์นั้น มีวิธีการง่ายมาก ๆ เพื่อน ๆ สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
- เข้าที่เว็บไซต์สำหรับการสร้างเสียงรองรับได้หลายภาษา ตัวอย่างเช่น เสียงภาษาไทย เข้าสู่เว็บไซต์โดยคลิกที่นี่
- ใส่ประโยคที่ต้องการให้สร้างไฟล์เสียง
- กด ดาวน์โหลด เป็นอันเสร็จ
วิธีการนำไฟล์เสียงที่สร้างแล้ว ไปใช้งานบน BSV Voice Annunciator
1.เสียบ SD card (SDV-2GP) เข้าไปยังคอมพิวเตอร์
2.หลังจากนั้นทำการนำไฟล์เสียงในรูปแบบ MP3 ที่สร้างเสร็จไว้ก่อนหน้านี้บันทึกลงใน SD card
3.เปลี่ยนชื่อไฟล์เสียงตอนที่ทำการบันทึกไฟล์ลงใน SD card ให้เป็นเลขของ channel เสียง เช่น จะทำการบันทึกที่ channel CH 1 ชื่อไฟล์เสียงจึงเป็น 001.mp3 เมื่อเสร็จเรียบร้อยให้ทำการดึง SD card ออกจากคอมพิวเตอร์
4.ขั้นตอนสุดท้าย นำ SD card เสียบเข้าไปยังอุปกรณ์ ที่บริเวณด้านหลังของเครื่อง
ข้อสังเกต
หากนำไฟล์เสียงลงอุปกรณ์สำเร็จจะได้ยินเสียง “ตึ้ด” จาก อุปกรณ์
จากนั้นรออีกประมาณ 1 นาที หากมีเสียง”ตึ้ด” แสดงว่าไฟล์เสียงถูกบันทึกลงในอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หากมีเสียง “ตึ้ด ตึ้ด ตึ้ด” นั้นแสดงว่าไฟล์เสียงมีปัญหา ให้ตรวจสอบไฟล์เสียงใหม่อีกครั้ง
ตัวอย่างการเลือกซื้อ BSV Voice Annunciator
ในการเลือกซื้ออุปกรณ์ชิ้นนี้ เพื่อนๆ ต้องทำการกำหนดกสเป็คที่สำคัญของสินค้า ก่อนซึ่งประกอบไปด้วย 4 หัวข้อหลัก ๆ ดังนี้
- .ใช้ร่วมกับ transistor ประเภทอะไร ?
- N= NPN ,
- P = PNP
- ระยะเวลาในการเล่นเสียง
- L = 520 วินาที , (32 Mbit)
- ไม่ระบุ = 63 วินาที , (4 Mbit)
- ต้องการเสียงที่ตั้งค่าจากทางโรงงานด้วยหรือไม่
- M = มีการบันทึกเสียงให้ (รองรับเฉพาะสั่งจากทางประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น)
- หากไม่ระบุ = มีเสียงที่ตั้งค่าให้จากทางโรงงาน15 เสียง (สามารถทดลองฟังเสียงได้ที่นี่ )
- สีของ body
- W = Off white
- D = Dark gray
- S = Silver
จบไปแล้วนะครับสำหรับสาระความรู้เกี่ยวกับ อุปกรณ์ voice alarm จาก PATLITE รวมไปถึงตัวอย่างการสร้างไฟล์เสียงเพื่อนำไปติดตั้งลงในอุปกรณ์ หากเพื่อนๆ ถูกใจบทความนี้หรือมีคำติชมใดๆ สามารถให้กำลังใจทีมงานผู้จัดทำเว็บไซต์ได้ที่ช่องคอมเมนต์ด้านล่าง สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนในมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
คำศัพท์ | คันจิ | ฮิราคานะ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
สัญญาณเตือนจากการสร้างเสียง | 音声合成報知器 | おんせいごうせいほうちき | – | on-sei-gō-sei-hōchi-ki |
ข้อมูลอ้างอิง