โครงสร้างภายนอกของ Relay มีความสำคัญกับการใช้งานอย่างไร
สารบัญ
จากบทความ รีเลย์ (Relay) คืออะไร? เพื่อนๆ คงจะได้ทราบถึงหลักการทำงานของรีเลย์ รวมไปถึงส่วนประกอบสำคัญของรีเลย์ กันไปแล้วใช่ไหมครับ ในบทความนี้เรามาดูในส่วนของโครงสร้างภายนอกของรีเลย์กันครับว่ามีความสำคัญอย่างไร โดยจะยกตัวอย่างชนิดของโครงสร้างภายนอกของรีเลย์ที่ถูกผลิตภายใต้แบรนด์ OMRON กันครับ
ตัวอย่างโครงสร้างภายของรีเลย์ OMRON
ในปัจจุบันรีเลย์นั้นมีโครงสร้างภายนอก หลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน ในบทความนี้เราจะยกตัวอย่าง โครงสร้างภายนอกของรีเลย์แบรนด์ OMRON มาให้เพื่อนๆ ได้ดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง
1.รีเลย์ที่ไม่ได้ทำการซีล (Unsealed Relays)
โครงสร้างของรีเลย์ที่ไม่ได้ทำการซีล (Unsealed Relays) รีเลย์ชนิดนี้สามารถป้องกันฝุ่นได้ระดับหนึ่ง แต่จะไม่สามารถป้องกันการแทรกซึมของฟลักซ์เข้าไปในตัวเรือนจากขั้วต่อในระหว่างการบัดกรีได้ รวมไปถึงไม่สามารถทำความสะอาดรีเลย์ชนิดนี้ด้วยการใช้สารทำความสะอาดแบบต่างๆ รวมไปถึงวิธีการจุ่มในน้ำยาทำความสะอาดด้วยเช่นกัน เพราะมีโอกาสทำให้ตัวอุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ รีเลย์ชนิดนี้จึงเหมาะกับการเชื่อมติดด้วยการบัคกรีแบบปกติเท่านั้น ตัวอย่างเช่น Power relay G4W OMRON
2.รีเลย์ที่มีการป้องกันฟลักซ์ (Flux protection)
รีเลย์ที่มีการป้องกันฟลักซ์ (Flux protection) โครงสร้างของรีเลย์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้ฟลักซ์แทรกซึมเข้าไปในตัวเรือนรีเลย์ เมื่อรีเลย์ถูกบัดกรีบนแผงวงจร PCB ถึงแม้ว่ารีเลย์ประเภทนี้จะสามารถป้องกันในเรื่องของฟลักซ์ได้ แต่ รีเลย์ประเภทนี้ก็ไม่สามารถทำความสะอาดโดยการจุ่มลงในสารละลายสำหรับทำความสะอาดได้ ตัวอย่างเช่น Power relay G2R OMRON
3.รีเลย์ที่ถูกซีล (Sealed Relays)
โครงสร้างของรีเลย์ที่ถูกซีล (Sealed Relays) รีเลย์ชนิดนี้มีโครงสร้างที่มีการปิดผนึกเป็นอย่างดี ซึ่งช่วยป้อง กันการแทรกซึมของฟลักซ์ ซึ่งมีโอกาสที่จะเข้าไปในตัวเรือนผ่านทางขั้วต่อในระหว่างการบัดกรีได้ รวมไปถึงป้องกันสารที่ใช้สำหรับทำความสะอาดจะวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยเช่นกัน และยังสามารถช่วยจำกัดความเสียหายจากสภาพแวดล้อมที่มีสารกัดกร่อนได้อีกด้วย โดยรีเลย์เหล่านี้จะถูกทดสอบ โดยการนำไปจุ่มลงในสารละลายฟลูออโรคาร์บอนเป็นเวลา 1 นาที ที่อุณหภูมิ 70-75°C เพื่อดูว่ามีก๊าซรั่วออกมาจากรีเลย์หรือไม่ ตัวอย่างเช่น Mini Relay G6A OMRON
ข้อแนะนำในการทำความสะอาดรีเลย์ แต่ละชนิด
เรามาดูวิธีการทำความสะอาดรีเลย์แต่ละชนิดกันครับว่า รีเลย์แต่ละประเภทก่อนหน้านี้มีวิธีการทำความสะอาดอย่างไร
ชนิดของรีเลย์ | รูปแบบการทำความสะอาด |
รีเลย์ที่ไม่ได้ทำการซีล (Unsealed Relays) | ไม่รองรับการทำความสะอาดที่ต้องมีการแช่ในสารละลาย แนะนำให้ทำความสะอาดเฉพาะบริเวณด้านหลังของบอร์ด PCB ด้วยแปรง |
รีเลย์ที่มีการป้องกันฟลักซ์ (Flux protection) | |
รีเลย์ที่ถูกซีล (Sealed Relays) | การทำความสะอาดด้วยการแช่สารละลายสามารถทำได้ แต่ไม่ควรทำความสะอาดโดยใช้เครื่องล้างแบบอัลตร้าโซนิค เพราะจะส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพของรีเลย์ ในบางรุ่น รวมไปถึงในการทำความสะอาดนั้น อุณหูมิของสารทำความสะอาดไม่ควรเกิน 40 °C |
จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความ โครงสร้างภายนอกของ Relay มีความสำคัญกับการใช้งานอย่างไร เพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้กันไปไม่มากก็น้อยสำหรับบทความนี้ ทั้งในเรื่องของการเลือกชนิดของรีเลย์ให้เหมาะสมกับงานประกอบซึ่งแต่ละโครงสร้างก็สามารถป้องกันสิ่งแปลกปลอมได้ไม่เหมือนกัน และวิธีในการทำความสะอาดรีเลย์ แต่ละชนิด หากเพื่อนๆ สนใจสินค้ารีเลย์คุณภาพ สูงจาก OMRON สามารถคลิกดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่นี่