รู้จักกับ ไฟสัญญาณเตือน จาก PATLITE
สารบัญ
เพื่อนๆ หลายคนที่อยู่ในสายงานการผลิตในโรงงานคงจะเคยเห็นอุปกรณ์อย่างไฟสัญญาณเตือนหรือ ไฟแจ้งเตือนสถานะของเครื่องจักรกันใช่ไหมหละครับ ในบทความนี้เราจะมาอธิบายรูปแบบของไฟสัญญาณเตือนรวมไปถึงข้อควรพิจารณาที่ขาดไม่ได้ในการเลือกไฟแจ้งเตือนสถานะของเครื่องจักร ซึ่งจะมีอะไรบ้างไปดูกันครับ
ไฟสัญญาณเตือน คืออะไร
ไฟสัญญาณเตือน หรือไฟแจ้งเตือนสถานะของเครื่องจักร เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องจักร เพื่อแสดงสถานะการทำงานของเครื่องจักรในขณะนั้น โดยใช้สีของไฟเป็นตัวบอกสถานะการทำงานต่างๆ เช่น เช่น ไฟเขียวแสดงว่าเครื่องจักรกำลังทำงานปกติ ไฟสีแดง แสดงสถานะข้อผิดพลาดหรืออันตราย บ่งบอกว่ามีปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขทันที เช่น เครื่องจักรหยุดทำงาน เป็นต้น
ตัวอย่างการไฟสัญญาณเตือนกับเครื่องจักรที่ติดตั้งภายนอกอาคาร
ตัวอย่างการไฟสัญญาณเตือนกับระบบเครื่องจักรที่ติดตั้งภายในอาคาร
ตัวอย่างไฟสัญญาณเตือนที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
Display Light หรือ Rotational Warning Light
Multi-Function Beacons SF08/SF10
- มีการบำรุงรักษาน้อย เพราะตัวอุปกรณ์ไม่ใช้มอเตอร์
- เลือกรูปแบบไฟได้ 22 แบบโดยปรับสวิตช์หมุนและเปลี่ยนช่องต่อสาย
Signal Tower LR Series
- มีรูปแบบเสียงเตือนให้เลือกถึง 4 แบบ
- มีการออกแบบโครงสร้างแบบใหม่ให้ช่วยป้องน้ำและฝุ่นได้เป็นอย่างดี โดยยังคงความสามารถในการกระจายเสียงได้รอบทิศทาง
เน้นการใช้งานภายนอก (LR10), เน้นการใช้งานภายใน (LR6)
3 ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติมก่อนการเลือกซื้อไฟสัญญาณเตือน
ในการเลือกไฟสัญญาณเตือนเรามักจะพิจารณาข้อมูลพื้นฐานต่างๆ อย่างเช่น สีของไฟ, จำนวนชั้นของไฟ, ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความสูงของไฟสัญญาณเตือน, รูปแบบของไฟ เช่น ไฟสว่างค้าง ไฟ กระพริบ ไฟแบบหมุนวน เป็นต้น แรงดันไฟเลี้ยง(Power Supply) รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ในการผลิต และอื่นๆ หลายครั้งที่นักออกแบบมือใหม่มักจะลืมพิจารณา หรือมองข้ามสิ่งสำคัญเหล่านี้ออกไป ตัวอย่างเช่น
1. สถานที่ติดตั้งไฟสัญญาณเตือน ในการติดตั้งไฟสัญญาณเตือนนั้น เราต้องพิจารณาด้วยว่า เราติดตั้งอุปกรณ์ชิ้นนี้ในบริเวณไหน เช่น ในอาคาร(Indoor) หรือ นอกอาคาร (Outdoor) ตัวอย่างเช่น หากติดตั้งนอกอาคาร ปัญหาที่พบได้บ่อยในบางครั้งแสงของไฟสัญญาณแจ้งเตือน ไม่สว่างมากพอที่จะสู้กับแสงแดดจากภายนอกได้ ทำให้มองดูได้ยาก เป็นต้น
2. มาตรฐาน IPX หรือมาตรฐานที่ใช้สำหรับบอกถึงความสามารถในการป้องกันฝุ่นละอองและน้ำของอุปกรณ์ชนิดนั้น ตัวอย่างเช่น ระดับ IPX69K สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยในสภาพแวดล้อมที่ต้องมีการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์
3. Option เสริมอื่นๆ เช่น มีระบบส่งสัญญาณเสียง, มีพอร์ตในการเชื่อมต่อข้อมูล เช่น USB Port, RS-485 เป็นต้น ซึ่ง option เสริมเหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น
จบไปแล้วนะครับ สำหรับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไฟสัญญาณเตือนรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงตัวอย่างการใช้งาน และ 3 ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติมก่อนการเลือกซื้อไฟสัญญาณเตือน จาก PATLITE เพื่อนๆ สามารถดูผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงเพิ่มเติมจาก PATLITE เพิ่มเติมได้ที่นี่