วิธีการเลือก LX Actuator ให้เหมาะสมกับงาน
สารบัญ
LX Actuator เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ แล้วเราจะเลือกอุปกรณ์ชิ้นนี้ได้อย่างไร วันนี้ทาง MISUMI Technical เรามีโปรแกรมที่ช่วยในการคำนวณ เพื่อเลือก actuator ชิ้นนี้ให้เหมาะสบกับการใช้งานของเพื่อนๆ เรามาดูกันครับว่า โปรแกรมนี้มีการใช้งานอย่างไร ทั้งหมดนี้หาคำตอบได้ในบทความนี้
LX Actutator คืออะไร
LX Actuator อุปกรณ์สำหรับใช้ในระบบของเครื่องจักรอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น ใช้ในเครื่องกด (Press machine), ระบบลำเลียงชิ้นส่วนในการผลิต (Conveyor) และ ระบบการเคลื่อนที่ของเครื่องจักรแบบ 3 แกน โดย LX Actuator สามารถติดตั้งได้ทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ
ส่วนประกอบสำคัญของ LX Actuator
ส่วนประกอบสำคัญของ LX แอคชูเอเตอร์ จะประกอบไปด้วย Ball Screw ชนิด Precision, ลูกบล็อคสำหรับใช้ในการเคลื่อนที่, ชุดตลับลูกปืน, ชุด มอเตอร์ bracket และอุปกรณ์เสริมอย่างฝาครอบ ที่ใช้สำหรับป้องกันฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปยัง ชุดรางของบอลสกรู
ขั้นตอนการเลือก LX Actuator โดยใช้โปรแกรมคำนวณจากทาง MISUMI
ในส่วนของวิธีการเลือก LX Single Axis Actuator นั้นสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
การเลือก LX Actuator ขั้นตอนที่ 1 Selection
- เข้าเว็บไซต์ https://th.misumi-ec.com/
- เข้าไปที่แถบเครื่องมือ “ข้อมูลทางเทคนิค” บนเว็บไซต์ MISUMI
- คลิกเลือก”โปรแกรมคำนวณอุปกรณ์ในระบบออโตเมชั่น”
- ในส่วนของ การเลือก LX Actuator ขั้นตอนที่ 1 Selection ให้เลือกชนิด(Type) ของ actuator โดยสามารถดูข้อมูลสินค้าได้ตามด้านล่าง
- ตัวอย่างความหมายของ Part Number (รหัสสินค้า)
ตัวอย่างเช่น LX1502-B1-75 หมายถึง
– LX15 หมายถึง LX Actuator series 15
– 02 หมายถึง ระยะหลีดของบอลสกรู เท่ากับ 2 mm. (Ball Screw Lead)
– 75 หมายถึง ความยาวรวมของราง
- ตัวอย่างความหมายของ Part Number (รหัสสินค้า)
- เลือก option โดยในตัวอย่างอย่างนี้เราจะเลือก high grade, no cover นอกจากนี้ เพื่อนๆ สามารถเลือก option อื่นๆ ให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น
- high grade, no cover
- high grade, covered
- super high grade, no cover
- super high grade, covered
- high grade, no cover with MX
- high grade, covered with MX
- super high grade, no cover with MX
- super high grade, covered with MX
- เลือกความยาวการเคลื่อนที่ของ Base Length
- เลือกรูปแบบการติดตั้งของ LX Actuator โดยมีให้เลือกด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ แนวนอน (Horizontal), แนวตั้ง (Vertical) และ ติดตั้งกับผนัง (Wall)
- คลิกปุ่ม Next เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป
- ใส่ค่าระยะ Stroke (เป็นระยะการเคลื่อนที่ของลูกบล็อค)
- ใส่ค่า Movement Speed(V) หรือค่าความเร็วในการเคลื่อนที่โดยประมาณ เช่น 10
- ใส่ค่า Accelaration/Deccelaration time (ระยะเวลาของการเคลื่อนที่ในช่วงที่มีความเร่งความเร็วและความหน่วง) เช่น 2
- ใส่ค่า Cycle per minute (จำนวนรอบของการเคลื่อนที่ ใน 1 นาทีโดยนับจากการเคลื่อนที่ไปและกลับ นับเป็น 1 รอบ) เช่น 3
- ใส่ค่า Load Coefficient (ค่า Safety Factor อันเนื่องมากจากการสั่นสะเทือนในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง) เช่น 1.2
- ใส่ค่า Operating condition (สภาพแวดล้อมในการใช้งาน) โดยมีให้เลือกใช้ดังนี้
- No external impact vibration and low speed (≦ 15 m/min)
[ไม่มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำกว่า 15 เมตร/นาที] - Little external impact vibration and medium speed (≦ 60 m/min)
[มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอกเล็กน้อย และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วน้อยกว่า 60 เมตร/นาที] - External impact vibration and high speed (≧ 60 m/min)
[มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากกว่า 60 เมตร/นาที]
- No external impact vibration and low speed (≦ 15 m/min)
- คลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป
- ใส่ค่า W (kg) หรือน้ำหนักของชิ้นงานที่วางบนลูกบล็อคที่เคลื่อนที่บน บอลสกรู เช่น 4 กิโลกรัม
*** ในส่วนของค่า X,Y และ Z ให้ใส่เป็น 0 ในกรณีที่วางชิ้นงานไว้ตรงกลางของลูกบล็อค*** - คลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป
ความหมายของตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากการคำนวณ
หลังจากที่เรากด Next ในขั้นตอนที่ 18 เสร็จแล้ว ตัวโปรแกรมจะแสดงหน้าตาของ Report ขึ้นมา เรามาดูกันครับว่า ความหมายของตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากการคำนวณนั้นมีความสำคัญอย่างไรบ้าง
Life Span คือ อายุการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชนิด โดยมีหน่วยให้เลือกทั้งแบบระยะทางกิโลเมตร, ชั่วโมง และ ปี
วิธีการเลือกหน้าแปลนให้เหมาะกับ Motor สำหรับ LX Actuator
เรามาดูกันครับว่าเราจะมีวิธีการกำหนดขนาดของหน้าแปลนให้เหมาะสมกับมอเตอร์แต่ละรุ่นได้อย่างไร โดยสามารถดูได้จากด้านล่างนี้
ในการเลือกหน้าแปลนสำหรับมอเตอร์แต่ละชนิดนั้นเพื่อนๆ สามารถพิจารณาได้จากรหัสสินค้าในกรอบสีแดงสำหรับ Servo motor และ กรอบสีเขียวสำหรับ Stepping motor ซึ่งจะช่วยบอก ได้ว่าหน้าแปลนขนาดนี้สามารถใช้งานร่วมกับมอเตอร์รุ่นไหนได้บ้าง ในส่วนของการระบุรหัสสั่งซื้อนั้น สามารถระบุรหัสของหน้าแปลน (Motor adapter plate) เพิ่มเติมต่อจาก จำนวนบล็อค
การเลือก Sensor ให้เหมาะสมกับ LX Actuator
LX Actuator นั้นรองรับการใช้งานร่วมกับ Proximity sensor เรามาดูกันครับว่า เราจะมีวิธีการเลือกได้อย่างไรบ้าง และกำหนดรหัสสินค้าได้อย่างไร หากเพื่อนๆมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ Proximity sensor แตกต่างกันอย่างไร สามารถอ่านต่อได้ที่นี่
ในการเลือกเซนเซอร์สำหรับ LX Actuator นั้น สามารถทำได้โดยการเพิ่มรหัสสินค้าของเซนเซอร์ที่ระบุไว้บนแคตตาล็อคสินค้ารุ่นนี้ (ในกรอบสีแดง)และตามด้วยจำนวนเซนเซอร์ โดยระบุตามหลังรหัสสินค้าของหน้าแปลนตัวอย่างเช่น หากต้องการใช้ Proximity Sensor GX-F8A 1 ตัว และ Photo Sensor GX-F8B 1 ตัว