PLC ชนิดไหนเหมาะกับงานของคุณ ?
ในการควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม หนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดก็คือระบบควบคุม ตัวอย่างช่นระบบ PLC หรือ Programmable Logic Controller ซึ่งทำหน้าที่เหมือน “สมอง” ของระบบ ที่คอยรับคำสั่ง ประมวลผล และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น มอเตอร์, หลอดไฟ, เซนเซอร์, ปั๊มน้ำ ฯลฯ แต่รู้หรือไม่ว่า PLC เองก็มีหลายแบบให้เลือกใช้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ที่นิยมใช้กัน คือ Compact PLC, Modular PLC, และ Rack PLC ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่น และจุดด้อย ที่แตกต่างกันออกไป เรามาดูกันครับว่าแต่ละแบบมีความสำคัญอย่างไร และควรเลือกใช้แบบไหนให้เหมาะสมกับระบบเครื่องจักรของเรา
PLC 3 ประเภท ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม
เราสามารถแบ่งขนาดของ PLC ออกได้เป็น 3 ขนาด คือ Compact PLC, Modular PLC, และ Rack PLC โดยแต่ละขนาดก็เหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่เราต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน เราไปดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง
1. Compact PLC – ขนาดเล็ก ใช้งานง่าย ราคาประหยัด
Compact PLC คือ PLC ที่รวมทุกอย่างไว้ในเครื่องเดียว ทั้งหน่วยประมวลผล (CPU), ช่องรับสัญญาณขาเข้า (Input), ช่องส่งสัญญาณขาออก (Output) รวมไปถึง (Communications Interface) และในบางรุ่นอาจรวมแหล่งจ่ายไฟเข้าไปด้วย เหมาะสำหรับงานขนาดเล็กที่ไม่ซับซ้อนรวมไปถึงงานที่ไม่มีแผนจะขยายระบบในอนาคต เช่น การควบคุมสายพาน, เครื่องบรรจุ, ระบบเปิด-ปิดไฟ, ประตูอัตโนมัติ หรือเครื่องจักรชิ้นเดียวที่ทำงานซ้ำๆ เป็นต้น โดยตัวอย่างของ Compact PLC ที่นิยมใช้กันได้แก่
ข้อดีของ Compact PLC | ข้อเสียของ Compact PLC |
---|---|
|
|
2. Modular PLC – ยืดหยุ่นสูง ขยายได้ตามต้องการ
Modular PLC คือ PLC ที่ออกแบบให้มีโครงสร้างแบบแยกส่วนต่างๆ ออกจากกัน กล่าวคือ ส่วนประกอบหลักต่างๆ ของ PLC เช่น CPU, Power Supply, Input/Output Modules และ Communication Modules จะถูกแยกออกจากกันเป็นชิ้นๆ ผู้ใช้งานสามารถเลือกประกอบเฉพาะโมดูลที่จำเป็นต่อการใช้งานได้ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งาน นอกจากนี้หากในอนาคตต้องการเพิ่มจำนวนอินพุตหรือเอาต์พุต
ก็สามารถซื้อเฉพาะโมดูลนั้นมาเสียบเพิ่มได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชุดควบคุมทั้งระบบ นอกจากนี้ยังมีข้อดีในด้านการบำรุงรักษา เนื่องจากหากเกิดความเสียหายที่โมดูลใดโมดูลหนึ่ง ก็สามารถถอดเปลี่ยนเฉพาะส่วนนั้นได้โดยไม่กระทบกับระบบโดยรวม เหมาะสำหรับงานควบคุมที่มีความซับซ้อนระดับกลางที่มีโอกาสอัพเกรดระบบเครื่องจักรบ่อย ตัวอย่าง Modular PLC ที่นิยมใช้งานกันได้แก่
ข้อดีของ Modular PLC | ข้อเสียของ Modular PLC |
---|---|
|
|
3. Rack PLC – ตัวท็อปสำหรับงานอุตสาหกรรมหนัก
Rack PLC หรือ Rack-mounted PLCs เป็นรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับโรงงานขนาดใหญ่ หรือระบบที่มีความซับซ้อนสูง โดยทุกโมดูลจะถูกติดตั้งบนแร็ค และสามารถเพิ่มหรือถอดโมดูลได้อย่างง่ายดาย ระบบนี้เหมาะกับงานที่ต้องการความเสถียรสูง เช่น การควบคุมในโรงไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ หรือระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ที่มีการทำงานอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่าง Rack PLC ที่นิยมใช้งานกันได้แก่
ข้อดีของ Rack PLC | ข้อเสียของ Rack PLC |
---|---|
|
|
กล่าวโดยสรุปการเลือกใช้ PLC แต่ละแบบไม่ใช่แค่ดูจากราคา แต่ควรดูจาก “ขนาดของงาน” และ “ความยืดหยุ่นที่ต้องการในอนาคต” เช่น
- ถ้างานของคุณเรียบง่าย งบจำกัด และไม่มีแผนจะขยาย – เลือก Compact PLC
- ถ้างานมีหลายจุดควบคุม และอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต – เลือก Modular PLC
- ถ้าเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ ต้องการระบบที่มีความเสถียรในการใช้งานตลอด 24 ชม. – เลือก Rack PLC
จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความ “PLC ชนิดไหนเหมาะกับงานของคุณ?” ที่พาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับ PLC ทั้ง 3 ประเภทยอดนิยมในงานอุตสาหกรรม ได้แก่ Compact PLC, Modular PLC และ Rack PLC พร้อมจุดเด่น-จุดด้อยที่แตกต่างกันชัดเจน โดย Compact PLC เหมาะกับงานระบบที่ไม่ซับซ้อน และมีงบประมาณจำกัด, Modular PLC เหมาะกับงานควบคุมระดับกลางที่มีโอกาสขยายระบบในอนาคต และ Rack PLC รองรับ I/O จำนวนมาก เหมาะกับระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องการความเสถียร หากเพื่อน ๆ กำลังมองหาอุปกรณ์ PLC ที่เชื่อถือได้ เราขอแนะนำ OMRON PLC