วิธีการเลือกขนาดพูลเล่ย์ สำหรับสายพานไทม์มิ่งเบล
สารบัญ
ในบทความนี้เรามาดูตัวอย่างการใช้โปรแกรมคำนวณขนาดพูลเล่ย์ สำหรับสายพานไทม์มิ่งเบล (Timing Pulley Belt) อย่างง่าย ว่ามีวิธีการใช้งานอย่างไร ก่อนจะไปดูวิธีการใช้งานโปแกรม เรามาทำความรู้จักกับพูลเล่ย์ที่ใช้สำหรับสายพานไทม์มิ่งเบล (Timing Pulley Belt) กันก่อนว่าคืออะไร มีลักษณะอย่างไร รวมถึงใช้งานอย่างไร
พูลเล่ย์ สำหรับสายพานไทม์มิ่งเบล(Timing Pulley Belt) คืออะไร
พูลเล่ย์ที่ใช้สำหรับสายพานไทม์มิ่งเบล (Timing Pulley Belt) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งกำลังและควบคุมตำแหน่งของระบบที่ต้องการความแม่นยำสูงใช้งานร่วมกับสายพานไทม์มิ่ง พูลเล่ย์มีลักษณะเป็นร่องฟันคล้ายกับฟันเฟืองจึงไม่ทำให้เกิดการยึดตัวหรือการลื่นไถลของสายพานในขณะส่งกำลัง นิยมใช้ส่งกำลังในเครื่องยนต์, ระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ, step motor, servo motor, พัดลมอุตสาหกรรม เป็นต้น
ขั้นตอนการเลือกขนาดTiming Pulley Belt โดยใช้โปรแกรมจากทาง MISUMI
วิธีการเลือก Timing Pulley Belt นั้นสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
- เข้าเว็บไซต์ https://th.misumi-ec.com/
- เข้าไปที่แถบเครื่องมือ “ข้อมูลทางเทคนิค” บนเว็บไซต์ MISUMI
- คลิกเลือก”โปรแกรมคำนวณอุปกรณ์ในระบบออโตเมชั่น”
Step 1 กรอกค่าลงใน User Input
- Power Transmission(Pt) คือค่ากำลังของมอเตอร์ที่ใช้ขับพูลเล่ย์หรือค่ากำลังที่เกิดจากแรงซึ่งกระทำกับสายพานขณะใช้งานสามารถเลือกหน่วยเป็น วัตต์(W) หรือ กิโลวัตต์ (kW)
- Rotation frequency driving side(input side) คือ ความถี่หรือความเร็วรอบการหมุนของพูลเล่ย์ที่เป็นตัวขับ หน่วยเป็นรอบต่อนาที (Rpm)
- Rotation frequency driven side (output side) คือ ความถี่หรือความเร็วรอบการหมุนของพูลเล่ย์ที่เป็นตัวตาม หน่วยเป็นรอบต่อนาที (Rpm)
- center-to-center distance (temporary C’) คือ ค่าระยะจากจุดศูนย์กลางของพูลเล่ย์ตัวขับถึงจุดศูนย์กลางพูลเล่ย์ตัวตาม หน่วยมิลลิเมตร (mm)
- Overload factor(Ks) คือ ค่าตัวประกอบที่ใช้ในการคำนวณหรือค่าที่ใช้ชดเชย เพื่อให้ผลลัพท์ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
- Search priority คือ การกำหนดลำดับการค้นหาสินค้าว่าต้องการค้นหาจาก ราคาต่ำๆ (Low Price) หรือ เวลาในการจัดส่งแบบเร็วที่สุดก่อน (Fast Delivery time)
- เมื่อกรอกค่าต่างๆครบแล้ว กดปุ่ม Automatic Calculation เพื่อให้โปรแกรมทำการคำนวณและแสดงผลลัพท์ออกมาในส่วนของ Selected Result
Step 2 เลือกค่า Overload factor
- ในรายการ Overload factor(Ks) กดเลือก “Selection”
- กดเลือก ชนิดไทม์มิ่งเบล (Belt Type) และกดปุ่ม “Next”
- ในหน้านี้จะให้ทำการกดเลือกเงื่อนไขในการใช้งานตามหัวข้อต่างๆ เพื่อให้โปรแกรมสามารถกำหนดค่าเผื่อหรือค่าที่ใช้ปรับแก้ซึ่งจะทำให้การคำนวณมีความใกล้เคียงกับการใช้งานจริงมากขึ้น
- Load Correction Coefficient (Ko) คือ ค่าสัมประสิทธิ์การรับแรงตามลักษณะการใช้งานต่างๆ
- Prime mover คือ แรงขับเรื่มต้นที่ต้องใช้เพื่อให้เกิดการหมุนของต้นกำลัง
- Running Time คือ ช่วงระยะเวลาในการใช้งาน
- Correction Coefficient to Rotation (Kr) คือ ค่าสัมประสิทธิ์ที่เกิดจากการเคลื่อนที่แบบการหมุน
- Idler correction factor (Ki) คือ ค่าตัวประกอบที่มีผลจากพูลเล่ย์ปรับความตึงหย่อน
- กดปุ่ม “enter the value in the overload coefficient” เพื่อให้ค่าที่ได้จากการคำนวณไปแสดงในช่อง Overload Factor(Ks)
- กดปุ่ม “Close” เพื่อกลับไปยังหน้า User Input
ผลลัพท์ที่ได้จากกการคำนวณ (Selected Result)
- Selected Result จะแสดงผลการคำนวณได้ 2 แบบ คือ แบบ Automatic และ แบบ Selection
- 1.1 แบบ Automatic โปรแกรมจะเลือกชนิดของไทม์มิ่งพูลเล่ย์ให้อัตโนมัติและแสดงค่าต่างๆออกมา
- 1.2 แบบ Selection เราสามารถเลือกชนิดของไทม์มิ่งพูลเล่ย์ที่ต้องการได้เอง จากนั้นกดปุ่ม “Selection” โปรแกรมจะคำนวณและแสดงค่าต่างๆในตารางโดยอ้างอิงจากชนิดของไทม์มิ่งพูลเล่ย์ที่เลือกไว้
- Type คือ ชนิดของไทม์มิ่งพูลเล่ย์
- The number of teeth /Diameter คือ จำนวนฟันและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของไทม์มิ่งพูลเล่ย์ขนาดเล็ก(ตัวขับ)และขนาดใหญ่(ตัวตาม) หน่วยเป็นมิลลิเมตร
- Width(Bw) / Calculated Value คือ ขนาดความกว้างของร่องฟันไทม์มิ่งพูลเล่ย์ โดยค่าแรกจะเป็นความกว้างมาตรฐานที่มีในท้องตลาด ค่าถัดมาคือความกว้างที่ได้จากการคำนวณ หน่วยเป็นมิลลิเมตร
- Circumferential length of the belt(Lp) / Calculated value คือ ค่าความยาวเส้นรอบวงของไทม์มิ่งเบลขนาดมาตรฐานและค่าที่ได้จากการคำนวณตามลำดับ หน่วยมิลลิเมตร
- The center distance(C) คือ ระยะจากจุดศูนย์กลางของพูลเล่ย์ตัวขับถึงจุดศูนย์กลางพูลเล่ย์ตัวตาม หน่วยเป็นมิลลิเมตร
- Initial tension of the belt(Ti) คือ ค่าแรงตึงเริ่มต้นในแนวแกนของสายพาน ควรให้อยู่ในช่วงที่แนะนำ(Recommended) แต่ไม่ควรเกินค่าสูงสุด(Maximum) หน่วยเป็นนิวตันหรือกิโลกรัม
- Deflection load(Td) คือ ค่าแรงกดที่ตำแหน่งกึ่งกลางของระยะสายพานซึ่งทิศทางของแรงตั้งฉากกับเส้นสายพาน ควรให้อยู่ในช่วงที่แนะนำ(Recommended) แต่ไม่ควรเกินค่าสูงสุด(Maximum) หน่วยเป็นนิวตันหรือกิโลกรัม
- Static axial load(fs) คือ ค่าแรงในแนวแกนของสายพานขณะหยุดนิ่ง หน่วยเป็นนิวตัน
- ฺฺBelt speed คือ ความเร็วเชิงเส้นของสายพาน หน่วยเป็นเมตรต่อวินาที
- Speed ratio คือ อัตราทดความเร็วของพูลเล่ย์
- Designed power(Pd) คือ ค่ากำลังที่ได้จากการคำนวณ หน่วยเป็นวัตต์
- Standard transmission volume(Ps) คือ ปริมาณการส่งกำลังมาตรฐาน หน่วยเป็นวัตต์
- Load correction coefficient(Ko) คือ ค่าสัมประสิทธิ์การรับแรงตามลักษณะการใช้งานต่างๆ
- speed ratio correction coefficient(Kr) คือ ค่าสัมประสิทธิ์เมื่อมีการทดความเร็วรอบของการหมุน
- Idler correction coefficient(Ki) คือ ค่าสัมประสิทธิ์ที่มีผลจากพูลเลย์ปรับความตึงหย่อน
- Interlock correction coefficient(Km) คือ ค่าสัมประสิทธิ์ที่มีผลจาก Interlock
- Width correction coefficient(Kb) คือ ค่าสัมประสิทธิ์ความกว้างของพูลเล่ย์
ขั้นตอนการเลือกไทม์มิ่งพูลเล่ย์ ( Timing Pulley) และสายพานไทม์มิ่ง (Timing Belt)
เมื่อเราได้รู้ข้อมูลของผลการคำนวณจากแบบ Automatic หรือ แบบSelection อย่างใดอย่างหนึ่ง ในตารางด้านล่างโปรแกรมจะแสดง Part Number ของไทม์มิ่งพูลเล่ย์และสายพานไทม์มิ่ง ซึ่งมีขายอยู่ในเว็บ MISUMI จากนั้นให้ทำการเลือกรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับตัวสินค้าตามขั้นตอนดังนี้
การเลือกพูลเล่ย์ (Pulley)
ตัวอย่างการเลือกจะอ้างอิงจากแบบ Automatic
- เลือกวัสดุของตัวพูลเล่ย์ โดยกดปุ่มในช่อง “material” เช่น เลือก “A2000 Series Aluminum Alloy”
- เลือกลักษณะพื้นผิวของตัวพูลเล่ย์โดยกดปุ่มในช่อง “surface treatment” เช่น เลือก “Clear Anodize”
- ในช่อง Flange หรือหน้าแปลนพูลเล่ย์จะแสดงชนิดของวัสดุหน้าแปลน
- Small pulley คือ พูลเล่ย์ตัวเล็กหรือพูลเล่ย์ตัวขับ
- Large Pulley คือ พูลเล่ย์ตัวใหญ่หรือพูลเล่ย์ตัวตาม
- เลือกลักษณะทรงของพูลเล่ย์ โดยกดปุ่มในช่องด้านล่าง “Pulley shape” เช่น เลือก “A” แต่ถ้าต้องการทราบรายละเอียดของ Pulley Shape สามารถคลิกที่ “Reference”
- เลือกลักษณะรูเพลาของพูลเล่ย์ โดยกดปุ่มในช่องด้านล่าง “Shaft hole specification” เช่น เลือก “H” แต่ถ้าต้องการทราบรายละเอียดของ Shaft hole specification สามารถคลิกที่ “Reference”
- เลือกขนาดรูเพลาของพูลเล่ย์หน่วยเป็นมิลลิเมตร โดยกดปุ่มในช่องด้านล่าง “Shaft diameter” เช่น เลือก “10”
- Catalog No. จะแสดง รหัส หรือ Part Number ของพูลเล่ย์ตามรายละเอียดที่เราได้เลือกไว้ เช่น “ATP32XL050-A-H10” เมื่อคลิกที่ตัวรหัสเราจะสามารถลิ้งไปยังหน้า Catalog ของพูลเล่ย์โดยอัตโนมัติ
การเลือกสายพาน (Belt)
ตัวอย่างการเลือกจะอ้างอิงจากแบบ Automatic
- เลือกวัสดุของสายพาน โดยกดปุ่มในช่อง “material” เช่น เลือก “Rubber”
- Catalog No. จะแสดง รหัส หรือ Part Number ของสายพานตามรายละเอียดที่เราได้เลือกไว้ เช่น “TBN144XL050” เมื่อคลิกที่ตัวรหัสเราจะสามารถลิ้งไปยังหน้า Catalog ของสายพานโดยอัตโนมัติ
เมื่อต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมหรืออุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับไทม์มิ่งพูลเล่ย์และสายพานไทม์มิ่งซึ่งมีขายใน MISUMI สามารถคลิกเข้าไปดูได้ที่ “[For Timing Pulleys]” และ [For Timing Belts]
จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความ วิธีการเลือกขนาดพูลเล่ย์ สำหรับสายพานไทม์มิ่งเบลอย่างง่าย เพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการคำนวณเบื้องต้นของอุปกรณ์ชิ้นนี้กัน ไม่มากก็น้อย ในบทความถัดไปเรามาดูกันครับว่า จะมีโปรแกรมคำนวณทางวิศวกรรมตัวไหนที่น่าสนใจที่ทาง MISUMI Technical จะนำมาฝากกันครับ