รู้จักกับ Photoelectric Sensors: E3Z Series
สารบัญ
ในบทความนี้เราจะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จัก โฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์ (Photoelectric Sensors) รุ่น E3Z ว่ามีคุณสมบัติเด่นอะไรกันบ้าง รวมไปถึงวิธีการตั้งค่าเบื้องต้นสำหรับการใช้งานโฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์ เพื่อใช้ในการตรวจจับวัตถุ รวมไปถึงข้อควรระวังในการใช้งาน และการติดตั้งซึ่งทั้งหมดนี้สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้
คุณลักษณะเด่นของ โฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์ รุ่น E3Z
- โฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์ แบบมีแอมพลิฟายเออร์ภายในตัว สามารถใช้งาน ได้หลากหลาย
- มีหลายรุ่นให้เลือกใช้งานรวมไปถึงระยะทางการตรวจจับวัตถุได้ไกลกว่ารุ่นอื่น ๆ เช่น
** ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นและการตั้งค่าในการใช้งาน ** - โครงสร้างมีระดับการป้องกันน้ำและฝุ่นละออง IP67 ตามมาตรฐาน IEC60529 ทำให้สามารถ ติดตั้งในสภาพแวดล้อมที่มีละอองน้ำมันได้
ส่วนประกอบภายนอกที่สำคัญของ โฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์ รุ่น E3Z
เรามาดูโครสร้างที่สำคัญภายนอกของ โฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์ รุ่น E3Z ว่ามีส่วนไหนที่เป็นจุดสำคัญกันบ้าง
A. ไฟแสดงสถานะเสถียรภาพ (Stability indicator) ให้แสงสว่างสีเขียว
B. ไฟแสดงสถานะการทำงาน (Operation indicator) ให้แสงสว่างสีส้ม
C. ตัวปรับตั้งค่าความไว (Sensitivity adjuster)
D. ตัวเลือกการทำงาน (Operation Selector) ใช้เลือการทำงานระหว่าง Light On mode และ Dark On mode
ตัวอย่างการปรับตั้งค่าความไวสำหรับ โฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์ รุ่น diffuse-reflective
ภาพนี้แสดงขั้นตอนการปรับตั้งค่าความไวสำหรับ โฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์ แบบ diffuse-reflective ที่ทำงานเมื่อได้รับแสงของรุ่น E3Z โดยแสดงการปรับเซนเซอร์ให้เหมาะสมกับการตรวจจับวัตถุ ดังนี้:
1.ตำแหน่ง A :
ในตำแหน่งนี้ต้องวางวัตถุที่ระยะที่ต้องการตรวจจับ และหมุนปุ่มปรับความไวตามเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มความไว จนกว่าไฟแสดงสถานะการทำงาน(Operation indicator) สีส้มจะสว่าง เพื่อให้ตรวจจับวัตถุได้
2.ตำแหน่ง B และ C :
หลังจากเอาวัตถุออก หมุนปุ่มปรับความไวทวนเข็มนาฬิกาจนไฟแสดงสถานะการทำงานสีส้มดับ (Operation indicator OFF) เมื่อถึงจุดที่ไฟสีส้มดับ หมายถึง การปรับความไวต่ำสุดที่สามารถตรวจจับพื้นหลังได้ (Position C) หรือสามารถตั้งค่าได้สูงสุดหากไม่มีวัตถุพื้นหลัง
3.การตั้งค่า (Setting):
การตั้งค่าความไวต้องปรับให้อยู่ระหว่างตำแหน่ง A และ C เพื่อให้เซนเซอร์ทำงานได้อย่างเสถียร โดยตรวจสอบว่าไฟแสดงสถานะสีเขียว (Stability indicator) สว่างเมื่อมีหรือไม่มีวัตถุ หากไฟสีเขียวไม่สว่าง แสดงว่าการทำงานไม่เสถียรและต้องเลือกวิธีการตรวจจับอื่น
** หมายเหตุ ** : หากพื้นหลังมีการสะท้อนแสงมากกว่าวัตถุ ควรหมุนปุ่มปรับไปที่ตำแหน่ง A สำหรับพื้นหลัง และไปที่ตำแหน่ง B หรือ C สำหรับวัตถุ
ข้อควรระวังในการใช้งาน และการติดตั้ง
- ในการติดตั้งตัวเซนเซอร์เข้ากับแท่นยึดนั้น ควรใช้สกรูขนาด M3 และใช้แรงบิดในการขันสกรูสูงสุดไม่ควรเกิน 0.53 N • m
- การประกอบคอนเนคเตอร์แบบโลหะขนาด M8
- a. เมื่อจะทำการติดตั้งหรือถอดคอนเนคเตอร์แบบโลหะ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าได้ปิดการทำงานของเซนเซอร์เรียบร้อยแล้ว
- b. เปิดฝาครอบคอนเนคเตอร์ไว้ ในขณะที่ทำการติดตั้งหรือถอดคอนเนคเตอร์แบบโลหะ
- c. ไม่ควรใช้คีมหรือุปกรณ์เสริมอื่นๆ ในการประกอบฝาครอบคอนเนคเตอร์ เพราะมีโอการที่จะทำให้ คอนเนคเตอร์ เกิดความเสียหายได้
- d. ใช้แรงบิดในการขันยึดที่พอเหมาะซึ่งอยู่ระหว่าง 0.3 และ 0.4 N • m ซึ่งถ้าต่ำกกว่านี้ก็มีโอกาสที่คอนเนคเตอร์อาจหลุดเนื่องจาก แรงสั่นสะเทือนได้
จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความ “รู้จักกับ Photoelectric Sensors: E3Z Series ” เพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้กันไปไม่มากก็น้อยไม่ว่าจะเป็น คุณสมบัติเด่นของ โฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์ รุ่น E3Z, ส่วนประกอบสำคัญของตัวเซนเซอร์ รวมไปถึงวิธีการตั้งค่าเบื้องต้น และข้อควรระวังในการใช้งาน และการติดตั้ง แล้วพบกันใหม่กับบทความที่น่าสนใจในสัปดาห์หน้าครับ